สมเด็จเนื้อผงผสมอิฐพระธาตุ วัดพระธาตุพนม ปี 19 สีชมพูนิยม
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2519 องค์พระธาตุพนม ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองนครพนม ได้ล้มครืนพังทลายลง ได้สร้างความเศร้าสลดให้กับพุทธศาสนิกชนไทยทั้งประเทศ พระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) พระพุทธเจ้าและพระบรมสารีริกธาตุอีกหลายองค์ ภายหลังพบพระอุรังคธาตุได้ 2 เดือน 26 วัน ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดงานพระราชพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุอื่นๆ อีก 115 องค์ อัญเชิญประดิษฐานในพลับพลาพิธี ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่รวม 7 วัน 7 คืน ในระหว่างวันที่ 26 ธ.ค.2518-1 ม.ค.2519 ถือเป็นงานสมโภชระดับชาติ ที่มีพิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางบ้านเมืองไปพร้อมกัน วันที่ 26 ธันวาคม 2518 ประมุขฝ่ายสงฆ์
นำโดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 17 รูป เฝ้าฯ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯทรงสรงพระกรัณฑ์พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม ก่อนเริ่มพระราชพิธี 3 วัน จังหวัดนครพนม
โดยนายพิศาล มูลศาสตรสาทร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก “เหรียญสมโภชพระธาตุพนม” กำหนดสร้าง 50,000 เหรียญ แต่บล็อกพิมพ์เกิดแตกเสียก่อน จึงสร้างได้เพียง 37,427 เหรียญ
ในจำนวนนี้มีเนื้อเงิน 99 เหรียญ เหรียญพระธาตุพนม
เนื้อทองแดงเจดีย์กลม 500 เหรียญ ที่เหลือเป็นเนื้อทองแดงเจดีย์รูปทรง 8 เหลี่ยม
และสมเด็จเนื้อผงผสมอิฐพระธาตุ วัดพระธาตุพนม
สมเด็จเนื้อผงผสมอิฐพระธาตุ วัดพระธาตุพนม ปี 19 นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ลานต้นศรีมหาโพธิภายในวัด ปลุกเสกโดยคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจากสำนักต่างๆ จำนวน 9 รูป หนึ่งในนั้นมีพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระเกจิชื่อดังร่วมในพิธีแผ่เมตตาจิต
วัตถุประสงค์ตั้งใจจะแจก”เหรียญสมโภชพระธาตุพนม”ในงานพระราชพิธีดังกล่าว แต่ภายหลังได้รับความนิยมสูง จึงเปลี่ยนให้เช่าบูชา เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะองค์พระธาตุพนม ต่อมาได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2522 ด้านหน้า เหรียญประดิษฐานพระธาตุพนม มีเปลวรัศมีบริเวณยอดฉัตรนับได้ 24 เปลว ถ้าสังเกตให้ดีบริเวณเปลวรัศมีระหว่างช่องที่ 6-7 เฉพาะเนื้อทองแดงจะพบรอยนูนเป็นตำหนิ ซึ่งมีสาเหตุที่บล็อกเริ่มแตกปริ และพิมพ์ไม่ครบตามจำนวน ด้านหลังมีตัวหนัง สือนูนระบุจุดประสงค์ในการสร้างไว้
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.