เบี้ยแก้ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน ลูกใหญ่ปิดทองเดิม ปรอทไม่รั่วเสียงดัง สมบูรณ์มาก
เบี้ยแก้ สายอ่างทอง เบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
หลวงพ่อนุ่ม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดอ่างทอง เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จังหวัดอ่างทอง เลี่ยมเก่าๆ มันส์ๆ เดิมๆ ดูง่ายๆ สวยสมบูรณ์มาก วางแปะด้วยชันโรงใต้ดินเกือบเต็มท้องเบี้ย เขย่าดังขลุกๆ เสียงปรอทดังฟังชัดเจน ตามสูตร จบครับ
ท่านเป็นอีกหนึ่งพระคณาจารย์ดังของ จ.อ่างทอง ควบคู่ไปกับหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ และหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ วัตถุมงคลที่สร้างและปลุกเสกเอาไว้ มีมากมายหลายชนิด แต่ที่รับความนิยมสูงพร้อมทั้งมากล้นประสบการณ์ก็คงหนีไม่พ้น เบี้ยแก้ของท่าน ท่านได้ศึกษาพระเวทย์วิทยาคมพร้อมทั้งสรรพวิชาต่างๆ กับพระอธิการพ่วง ต่อมามาศึกษากับพระครูธรรมสารรักษา(อ้น) วัดบุปผาราม พระอุปัชฌาย์ซึ่งมีชื่อเสียงใน จ.สุพรรณบุรีในสมัยนั้น และท่านได้ศึกษาด้วยตนเองจากตำราโบราณต่างๆอย่างเชี่ยวชาญ ตลอดจนท่านยังเป็นสหธรรมิกกับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ อีกทั้งยังแลกเปลี่ยนวิชากับอีกหลายพระคณาจารย์ ไม่ว่าจะเป็น หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ
จะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอๆซึ่งจะเห็นว่าเบี้ยแก้ของท่านทั้งสามสำนักจะมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่ถ้าพบเห็นบ่อยๆเคยสัมผัส และมีความรู้ ความชำนาญอยู่บ้างก็จะเป็นเรื่องง่ายในการพิจารณาแบ่งแยกลักษณะเบี้ยแก้ของแต่ละสำนัก เพราะลึกๆแล้วอย่างไรก็ตาม เบี้ยแก้ของแต่ละที่ แต่ละสำนักก็จะมีวิถี มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันนั่นเอง.
••••• เบี้ยแก้ พ่อนุ่ม วัดนางใน และการสร้างวัตถุมงคลประเภทเบี้ยแก้ของท่านนั้น เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ.ใดนั้นไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่จากการคาดคะเน หลวงพ่อนุ่ม ได้รับอาราธนามาดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดนางในธัมมิการาม นำโดยนายเผ่า ชัชวาลยางกูร คณบดี และเป็นเจ้าของตลาดสดในอำเภอวิเศษชัยชาญ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๖๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ และได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ จึงมีการคาดกันว่าหลวงพ่อนุ่ม ท่านน่าจะเริ่มสร้างเบี้ยแก้ ให้แก่ญาติโยม เป็นการเฉลิมฉลอง ไม่ปีใดก็ปีหนึ่งในปีนั้นๆที่เอ่ยมา และเท่าที่พบเห็นเล่นหาเป็นสากลเบี้ยของท่านจะเป็นเบี้ยเปลือยไม่มีการถักเชือกแต่อย่างใด
ส่วนการเลี่ยมจับขอบ เบี้ยแก้ พ่อนุ่ม วัดนางใน ไม่ว่าจะด้วยเนื้อทองคำ เงิน นาค นั้น แล้วแต่ลูกศิษย์ที่ได้รับจะนำไปเลี่ยมกันเองไม่ได้เลี่ยมจากทางวัดอย่างที่บางท่านเข้าใจกันซึ่งร้านที่มักนิยมนำเบี้ยไปเลี่ยมกันนั้นก็เป็นร้านเดียวกันกับลูกศิษย์ของหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ และหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ นำไปเลี่ยมกันเป็นร้านทองในตลาดวิเศษชัยชาญ ฉะนั้นลักษณะการเลี่ยมเบี้ยแก้ของทั้งสามสำนักนี้จึงมีลักษณะคล้ายกัน เพราะเลี่ยมร้านเดียวกันนั่นเอง จึงเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควรในการจะแบ่งแยก และพิจารณาสำหรับท่านที่ไม่มีความชำนาญ แต่มักมีข้อเปรียบเทียบง่ายๆ อยู่ว่าเบี้ยแก้ของหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์มักจะตัวใหญ่กว่าของหลวงปู่คำ วัดโพธิ์ปล้ำ และ เบี้ยแก้ พ่อนุ่ม วัดนางใน แต่ก็ใช่ว่าจะทุกลูกเสมอไป
ประวัติ หลวงพ่อ นุ่ม วัดนางใน
หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม วัดนางในธัมมิการาม – “หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม” วัดนางในธัมมิการาม ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดอ่างทอง
ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ พระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา และเบี้ยแก้ เป็นต้น วัตถุมงคลทุกชนิดของหลวงพ่อนุ่ม ล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมเสาะหาของนักสะสมวัตถุมงคล
หลวงพ่อนุ่ม หรือพระอุปัชฌาย์นุ่ม เกิดเมื่อวันที่ 15 ส.ค.2426 เกิดที่บ้านสามจุ่น ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ตอนที่ท่านอายุ 10 ขวบ ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน
เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2446 โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และพระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อยู่จำพรรษาที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระปริยัติธรรม โดยได้เรียนจากพระอธิการพ่วง ส่วนด้านวิทยาคมต่างๆ รวมถึงการฝึกสมาธิ การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านเดินทางไปร่ำเรียนกับหลวงพ่ออ้น แห่งวัดดอนบุปผาราม จ.สุพรรณบุรี โดยได้เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อสม วัดดอนบุปผาราม และจากฆราวาสอีกท่านหนึ่งชื่อว่า อาจารย์ เชตุ
พรรษาที่ 8 ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ต.ศาลเจ้าโรงทอง เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น
ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา ช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่นจนสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้กลับไปจำพรรษา อยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม
กระทั่งปี พ.ศ.2459 วัดหลวง ว่างเจ้าอาวาส ชาวบ้านในชุมชนวัดหลวง จึงได้พร้อมใจอาราธนานิมนต์ ให้ไปเป็นเจ้าอาวาส ขณะนั้นพรรษาที่ 14
ช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ
จนพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของชาวอำเภอ วิเศษชัยชาญ นำโดยนายเผ่า ชัชวาลยางกูร คหบดี และเป็นเจ้าของตลาดสดในอำเภอวิเศษชัยชาญ ต่างเห็นพ้องต้องกัน ควรที่จะอาราธนามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชุมชนใหญ่ และเป็นศูนย์กลางอำเภออย่างแท้จริง อันจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางมากราบนมัสการ
พ.ศ.2469 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนางใน ธัมมิการาม
วัดนางในธัมมิการาม อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองอ่างทอง ตามประวัติสร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ ประมาณปีพ.ศ.2393 ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดนางใน” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณปี พ.ศ.2453 โดยการบูรณะพัฒนาวัดได้เริ่มจริงจังขึ้นมากในสมัยของพระอุปัชฌาย์นุ่ม เป็นเจ้าอาวาสนับตั้งแต่ พ.ศ.2468 เป็นต้นมา เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ.2485
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2473 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลศาลเจ้าโรงทอง พ.ศ.2477 เป็นพระอุปัชฌาย์
ในสมัยนั้นวัดนางในธัมมิการาม ชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัด จนกระทั่ง เป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้
ผลงานต่างๆ ของหลวงพ่อมีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด
สร้างโรงเรียนประชาบาล วัดนางใน สร้างถนนรอบวัด สร้างสะพานข้ามลำน้ำสามจุ่นเชื่อมระหว่างจังหวัดอ่างทองกับสุพรรณบุรี สร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านสามหน่อ ที่สุพรรณบุรี
ปกครองวัดนางในเป็นเวลา 30 ปี กระทั่งเมื่อวันที่ 13 ส.ค.2497 จึงมรณภาพ สิริอายุ 71 ปี พรรษา 51
ปัจจุบันวัดนางในธัมมิการามเเละบรรดาศิษย์ หลวงพ่อนุ่ม จัดวันทำบุญประจำปี ตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โต ทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานทุกปี
“เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
ราคา คือ สิ่งที่คุณจ่ายไป ….คุณค่า คือสิ่งที่คุณได้รับ
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
Facebook : https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG : https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.