สิงห์สาริกา หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี ศิลป์คอม้า ขวัญเลข ๑ แกะ
ประวัติ ตามประวัติแล้วหลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกองค์ที่ไม่ธรรมดา และอาจารย์ของท่านก็ไม่ธรรมดาเช่นกันอย่างเช่น 1.หลวงปู่ศุข วัดปางคลองมาขามเฒ่า 2.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี และ อีกหลายท่านเพราะท่านประพฤติปฏิบัติตนแบบน้ำไม่เต็มแก้ว ชอบศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิตย์ท่านเป็นพระที่มีเมตตามาก
#พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์แก่ผู้อาราธนาสวมใส่ สำหรับสิงห์งาแกะของท่านนั้นเป็นที่ล่ำลือกันว่าหลวงพ่อปลุกเสกจนสิงห์ทุกตัวมีจิตมีชีวิต สิงห์งาแกะที่ปลุกเสกในบาตรกระโจนกระโดดโลดเต้นดังลูกกบลูกเขียด เป็นสิงห์เมตตา มหาเสน่ห์ และเปี่ยมด้วยอำนาจบารมี แคล้วคลาดปลอดภัย น่าบูชาเป็นยิ่งนัก เครื่องรางของท่านมีไม่มากนักแต่ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ศิษย์สายสุพรรณ
#ปัจจุบันนี้สิงห์หลวงพ่อมุ่ยได้รับความนิยมอย่างมาก นับวันยิ่งหายาก และมีคุณค่ามาก ด้วยพุทธคุณ บารมีของหลวงพ่อมุ่ยในการปลุกเสกสิงห์ ทำให้สิงห์ของท่านดูมีมนต์ขลัง ดูมีอำนาจมากและนับวันสิงห์ที่แกะออกมาในลักษณะสวยๆ ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่
#สิงห์ตัวเล็กแต่พุทธคุณมหาศาลครบทุกด้าน แคล้วคลาด เดินทางปลอดภัย เมตตามหานิยม เจริญรุ่งเ้รืองในหน้าที่การงาน ศิริมงคลยิ่งนัก #คำอาราธนาพระเครื่องของ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ตั้งนะโม 3 จบ ให้ระลึกพระรัตนตรัย
จึงอาราธนาว่าดังนี้ “พระพุทธะราธนานัง พระธัมมะราธนานัง พระสังฆะราธนานัง วิญญาณ นะสัมปันโน อิติปิโส นะโมพุทธายะ” เมื่อเข้าที่คับขัน จงภาวนาพระคา (ชินบัญชร) ย่อดังนี้ “ชะยา สะนา กาตา พุทธาฯ” -สิงห์เนื้องาฉ่ำเก่า มันส์เงา
——————
พระเกจิอาจารย์อาคมขลัง เป็นที่ประจักษ์โด่งดังแห่งยุค ดังวลีอมตะ “ท่านมุ่ยได้ข่าวว่าท่านขลังนัก ทำอย่างไรถึงขลัง”
“ตั้งแต่เกล้าบวชทำแต่ความดีไม่เคยทำชั่ว ถ้าจะขลังก็ขลังที่ความดีขอรับ”
อายุ ๘๖ ปี (ปี ๒๔๓๑ – ๒๕๑๗)
พ.ศ.๒๔๗๕ ได้รับตราตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดดอนไร่
พ.ศ.๒๔๗๖ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะ ตำบลหนองสะเดา
พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์
ฑ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับสมณะศักดิ์ เป็นพระครูชั้นตรี (พระครูสุวรรณวุฒาจารย์)
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ เป็นบุตรของนายเหมือน นางซัง นามสกุล มีศรีชัย เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๓๑ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู เป็นบุตรคนกลางในจำนวน ๕ คน อุปสมบทครั้งแรก ปี ๒๔๕๑ จนถึงปี ๒๔๖๓ จึงลาสิกขามาเพื่อช่วยครอบครัวได้ไม่กี่เดือนผมยังไม่ทันยาวก็เกิดอาการป่วยมือสั่นและทรุดลงเรื่อยๆ รักษาไม่ได้บรรดาญาติจึงขอให้ท่านอธิษฐานถ้าหายเจ็บไข้จะบวชอีกครั้ง หลังจากนั้นท่านจึงหาย และได้อุปสมบทเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์อีกครั้ง ณ พัทธสีมา วัดดอนบุปผาราม อ.ศรีประจันต์ หลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปปัชฌาย์รูปแรกของท่าน หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา มาโดยตลอดตั้งแต่แรก ซึ่งในยุคนั้นสำนักวัดหัวเขาโด่งดังมาก รวมถึงในปี ๒๔๖๓ นั้นหลวงพ่ออิ่มท่านได้ฝากหลวงพ่อมุ่ยไว้กับพระอาจารย์ที่สุดยอดขิงเมืองไทยอีกรูปนึงคือ หลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่า หรือหลวงปู่ศุข นั่นเอง โดยหลวงพ่ออิ่มถึงกับออกปากชมว่า “ท่านได้วิชาหลวงปู่ศุขมาครึ่งเล่ม ส่วนท่านมุ่ยได้มาเล่มครึ่ง” ซึ่งหมายความว่าตัวท่านนั้นแก่ชราแล้วความจำสู้พระหนุ่มๆอย่างหลวงพ่อมุ่ยไม่ได้นั่นเอง ส่วนคำว่าเล่มนั่นหมายความถึงเล่มเกวียน ที่มีขนาดพอๆกับรถกะบะใหญ่ๆสมัยนี้นั่นเอง และก่อนหลวงพ่ออิ่มมรณะภาพท่านยังออกปากว่า “ถ้าสิ้นบุญท่านแล้ว จะมีดอกบัวบานทางทิศใต้” ซึ่งหมายถึงวัดดอนไร่นั่นเอง และหลังจากปี ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ชื่อเสียงของหลวงพ่อมุ่ยในด้านความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ รดน้ำมนต์ ค้าขาย โด่งดังเป็นที่สุดในแถบภาคกลาง เกิดเป็นวลีอมตะ ดังที่สมเด็จพระสังฆราช จวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้เสด็จมาเป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องยุทธหัตถี ที่พระวิสุทธิสารเถระ หรือหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นแม่งานในการจัดสร้าง สมเด็จฯได้พบกับหลวงพ่อมุ่ย จึงตรัสถามหลวงพ่อมุ่ยว่า “ท่านมุ่ยได้ข่าวว่าท่านขลังนัก ทำอย่างไรถึงขลัง” หลวงพ่อมุ่ยก็ตอบว่า”ตั้งแต่เกล้าบวชทำแต่ความดีไม่เคยทำชั่ว ถ้าจะขลังก็ขลังที่ความดีขอรับ” สมเด็จฯได้ยินดังนั้นทรงชื่นชอบในคำตอบของหลวงพ่อมุ่ยเป็นอย่างมาก
การปลุกเสกพระเครื่งนั้น หลวงพ่อมุ่ย ท่านไม่ค่อยที่จะสร้างมากนักมีแต่ลูกศิษย์กับญาติโยมในวัดที่ร้องขอท่านเพราะต้องการที่จะสร้างถาวรวัตถุภายในบริเวณวัดให้และแจกจ่ายให้กับผู้ร่วมทำบุญ ซึ่งท่านก็เมตตาปลุกเสกและแนะนำให้ การเสกแต่ละครั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นรูปหล่อ สิงห์งาแกะ ท่านปลุกเสกจนขยับวิ่งได้ราวกับมีชีวิตเลยที่เดียวจากคำบอกเล่าของศิษย์ใกล้ชิด ช่วงว่างของท่านนั้นท่านจะภาวนาอยู่เสมอและจ้องมองไปที่ต้นสำโรงต้นใหญ่กลางวัดเป็นประจำ เม็ดสำโรงของวัดดอนไร่ก็ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก แม้กระทั่งก้นยาฉุนของหลวงพ่อมุ่ยนั้น ช่วงแรกๆ วัยรุ่นแถววัดที่ไม่ค่อยมีสตางค์นำก้นยาใส่กระเป๋าไปเที่ยวงานต่างถิ่นและมีเรื่องมีราวชกต่อยไล่ฟันกันไม่เข้า และอีกเรื่องนึงเด็กวัดได้เหน็บก้นยาหลวงพ่อมุ่ยไว้ที่เอว ถูกสุนัขกัดจนล้มก็ไม่เข้า ต่อมาจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น จนมาเฝ้ากันใต้กุฏิหลวงพ่อมุ่ย นั่งรอก้นยาฉุนเวลาที่หลวงพ่อท่านสูบ บางครั้งหลวงพ่อท่านก็เย้าเล่นโยนลงไปพวกเด็กๆก็วิ่งตามไปปรากฎว่าไม่มีก้นยาหล่นมา หลวงพ่อท่านก็ยิ้ม หลวงพ่อมุ่ยท่านรับสงเคราะห์อนุเคราะห์ลูกศิษย์ไม่เลือกชั้นวรรณะ จะร่ำรวยมียศถาบรรดาศักดื์มาก็ต้องตามคิวรอไม่มีมาหลังได้ก่อนมาก่อนได้หลัง จังหวัดข้างเคียง ชัยนาท สิงห์บุรี อยุธยาในยุคนั้นวิ่งเข้าวัดดอนไร่มากมายนักว่ากันว่าสิงห์งาแกะหรือวัตถุมงคลงาแกะต่างๆ ที่นิยมจากช่างพยุหะคิรีนั้นทำส่งวัดดอนไร่เป็นปี๊บๆ ก็ไม่พอเช่าบูชาแก่ญาติโยมและลูกศิษย์ในยุคนั้นเลยทีเดียว
หลวงพ่อมุ่ย ละสังขารเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗ แต่ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านยังคงอยู่ตราบนานเท่านาน
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.