เหรียญพระแสนแส้ รุ่น1 วัดเชียงคาน จ.เชียงราย ปี2538 องค์ที่ 13
เหรียญพระแสนแส้ (แซ่) รุ่น1วัดเชียงคาน จ.เชียงราย ปี2538
เหรียญรุ่น1เจตนาการสร้างดี พิธีดี ดังเพราะประสบการณ์
เหรียญเสมาทองฝาบาตร พระแสนแส่ รุ่น 1 วัดเชียงคาน จังหวัดเชียงราย ปี2538
สร้าง รุ่น 1 ปี 2538 เหรียญเสมาเนื้อฝาบาตร สร้างจำนวน 2200 เหรียญ และพระบูชา 5นิ้ว,9 นิ้ว
รุ่น 2 ปี 2549 รูปหล่อโบราณ ขนาดเล็ก ลอยองค์พระบูชา 5,9 นิ้ว
รุ่น 3 หล่อองค์จำลอง มีรูปหล่อ และพระบูชา 5,9,นิ้ว
รุ่น 4 แจกงานกฐินปี2554 เป็นรูปหล่อเนื้อทองเหลือง
รุ่น5 เนื้อผงฉลองซุ้มประตูวัดบ้านเชียงคาน
เรื่องความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีมากมายครับ มีการสร้างวัตถุมงคลไว้ 4 รุ่น เจตนาและพิธีดีมากครับ มีประสบการณ์มากมาย
ประวัติพระพุทธรูปแสนแซ่
วัดเชียงคานตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
พระแสนแซ่ เป็นคำเรียกพระพุทธรูปโบราณที่ชาวล้านนาหล่อขึ้นหลายๆ ส่วน แล้วนำมาประกอบกันเข้าเป็นองค์พระพุทธรูป โดยใช้วิธีการยึดด้วยสลักหรือหมุดตามข้อต่อต่างๆ
ชาวล้านนาเรียกสลักหรือหมุดว่า “แซ่” หรือ “แซ่ว” ส่วน “แสน” หมายถึง มากมายยิ่ง
ดังนั้น พระพุทธรูปที่ใช้สลักหรือแซ่ยึดไว้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อว่า “พระแสนแซ่” เช่นเดียวกับในภาคกลางเรียกพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ว่า “หลวงพ่อโต” นั่นเอง
ประวัติโดยสังเขป พระแสนแซ่
พระพุทธรูปแสนแซ่ เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญมีพุทธลักษณะที่สวยงาม มีประวัติศาสตร์ ที่ยาวนานและผูกพันกับพุทธศาสนิกชนในตำบลสถานมาโดยตลอด เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว สูง 41.5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 85.5 กิโลกรัม จากหลักฐานจารึกอักษรที่ฐานพระพุทธรูประบุว่า “เจ้าเณรเจ้าก๋านมะกะละ สร้างพระแสนแซ่ถวายไว้ที่วัดบ้านแหน เมื่อปีพุทธศักราช 1991 ปีระกา เดือน 8 ขึ้น 8 ค่ำ”
สถานที่ตั้งวัดบ้านแหน ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านเชียงคาน ตำบลสถาน อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย
ต่อมาวัดบ้านแหน ได้ชำรุดทรุดโทรมมากลายเป็นวัดร้างไป เมื่อใดไม่ปรากฏ ในปีพุทธศักราช 2444 ประชาชนชาวบ้านเชียงคาน ได้ขุดพบพระแสนแซ่ ณ บริเวณวัดบ้านแหน และได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในหมู่บ้าน ใต้ต้นโพธิ์โรงเรียนบ้านเชียงคานในปัจจุบัน เนื่องจากยังไม่ได้สร้างวัด จนกระทั่ง พ.ศ.2448 เมื่อชาวบ้านได้สร้างวัดเชียงคานขึ้นแล้ว จึงได้อัญเชิญพระแสนแซ่มาประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงคาน จนถึงปัจจุบัน
จากพุทธลักษณะที่งดงามและเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ จึงทำให้พระแสนแซ่ เป็นที่เคารพศรัทธาและเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของประชาชนในพื้นที่ตำบลสถาน และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
จากคณะศรัทธาดังกล่าว พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ตำบลสถาน โดยเทศบาลตำบลสถาน สภาวัฒนธรรมและคณะสงฆ์ จึงได้จัดให้มีประเพณีสืบชะตาและปิดทองพระแสนแซ่ขึ้นทุกปี เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์งานวัฒนธรรมประเพณีสืบชะตาของท้องถิ่นล้านนาให้คงสืบต่อไป เป็นการเผยแพร่ให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้รู้จักอย่างแพร่หลาย เป็นการเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและการมีส่วนร่วมทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ประกอบกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของท้องถิ่น
งานพิธีสืบชะตา เป็นงานประเพณีที่บรรพบุรุษของเราได้ถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน จัดขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจ ให้กำลังใจ และก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่บุคคล ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติตลอดไป
คำไหว้พระแสนแซ่ ลักขาธิมัตตาณิยุตตกัง พุทธะปะฏิพิมพัง อะหัง วันทามิ สิระสา โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ข้าพเจ้าขอไหว้หลวงพ่อแสนแซ่ ด้วยเศียรเกล้า
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ.
“เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
web palana : พระล้านนา.คอม
http://www.pralanna.com/ponsrithong
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.