พระกริ่งคุ้มเกล้า เนื้อนวโลหะ ปี 2522

พระกริ่งคุ้มเกล้า เนื้อนวโลหะ ปี 2522


มงคลวัตถุชุด “คุ้มเกล้า” โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

มีประวัติเรื่มแรกตั้งแต่ปี 2456 ซึ่งขณะนั้นยังมีฐานะเป็นเพียงระดับหมวดพยาบาลเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายฐานะและเปลี่ยนชื่อหลายต่อหลายครั้ง ตามการเลื่อนฐานะของกองทัพอากาศ พ.ศ.2484 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ จำนวน 30,000 บาท เพื่อก่อสร้างที่ทำการรักษาพยาบาลของกองทัพอากาศขึ้นใหม่ ทางราชการจึงตกลงซื้อที่นาทางฝั่งตะวันออกของถนนพหลโยธิน เนื้อที่ 280 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา ด้านหน้าจรดถนนพหลโยธิน ด้านหลังจรดคลอง เป็นที่ตั้งของกรมแพทย์ทหารอากาศ และโรงพยาบาลทหารอากาศ

จนกระทั่งวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2492 โรงพยาบาลทหารอากาศ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ ภารกิจของกรมแพทย์ทหารอากาศ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์ทหาร การแพทย์ทั่วไป เวชศาสตร์การบิน เวชศาสตร์ป้องกัน การพัสดุสายแพทย์ วิจัยและพัฒนากิจการแพทย์ กับมีหน้าที่กำหนดแนวทาง ควบคุม ประเมินผล การฝึกศึกษา ผลิตบุคลากรสายแพทย์ และตรวจตรากิจการในสายวิทยาการด้านการแพทย์ มีเจ้ากรม แพทย์ทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2492 โดยเริ่มแรกมีขีดความสามารถรับผู้ป่วยได้เพียง 88 เตียง แต่ปัจจุบันสามารถรับผู้ป่วยได้ถึง 700 เตียง โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการให้บริการคือ ข้าราชการ ลูกจ้าง ครอบครัวของกองทัพอากาศและประชาชนทั่วไป พระพุทธรูปประจำหน่วย คือ พระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ พระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2527 ซึ่งตรงกับมงคลสมัยที่พระคุณเจ้า หลวงปู่แหวน สุจิณโน พระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ และเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวไทยทั่วประเทศ มีอายุครบ 97 พรรษา ในโอกาสเดียวกัน ได้ทำพิธีหลอมแผ่นทอง นาก เงิน ที่ได้ทำพิธีลงอักขระแล้วเป็นชนวนไปสร้างวัตถุมงคล คุ้มเกล้าฯ ต่อไป ทางฝ่ายสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พร้อมด้วยพระราชาคณะอีก 9 รูป ได้เสด็จประทับ ณ พลับพลาพิธีเพื่อเจริญชัยมงคลคาถาด้วย งานนี้เป็นงานใหญ่ที่ได้รับความสำเร็จเป็นที่ประทับใจยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง จากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์มาถึงวัดดอยแม่ปั๋ง เมื่อเวลา 15.30 น. ท่ามกลางข้าราชการ ทหาร และประชาชน ที่รอรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น
ส่วนข้าราชการและนายทหารผู้ใหญ่ที่ถวายการรับเสด็จฯ มีอาทิ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรี, ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, ข้าราชการและนายทหารผู้ใหญ่อีกจำนวนมาก

พระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ นี้ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ที่หอพระโรจนนิล โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ส่วนโครงการสร้างวัตถุมงคล คุ้มเกล้าฯ นั้นมีที่มาจากความต้องการสร้างอาคารคุ้มเกล้าฯ ซึ่งเป็นอาคารที่ได้มีการวางแผนอย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยข้อมูลการก่อสร้างโรงพยาบาลจากทั่วโลกมาประกอบการพิจารณาการก่อสร้าง การก่อ สร้างได้ดำเนินการอย่างรีบเร่ง เพื่อเปิดบริการให้การรักษาแก่ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ประสิทธิภาพจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินการและการบริหาร ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์แพทย์ ซึ่งจะต้องใช้เงินอีกประมาณ 200 ล้านบาท

มูลนิธิคุ้มเกล้าฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรณรงค์หาทุนเพิ่มเติม เพื่อให้การบริหารอาคารคุ้มเกล้าฯ มีขีดความสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดให้ได้ จึงได้ดำริสร้างวัตถุมงคล คุ้มเกล้าฯ ขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาค ซึ่งกองทัพอากาศได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างวัตถุมงคลเป็นกรณีพิเศษ (ตามนัยหนังสือสำนักราชเลขาธิการ รล.003/5818 ลง 28 มิ.ย. 22) วัตถุมงคลดังกล่าว ได้แก่
พระพุทธรูปบูชา พระกริ่ง และ เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานนามเพื่อเป็นสิริมงคลยิ่งแก่วัตถุมงคลที่จะสร้างดังนี้ พระพุทธรูป ประทานนามว่า พระพุทธศิรมงคล มีความหมายว่า
พระพุทธมีความเจริญล้นเกล้าฯ พระกริ่ง ประทานนามว่า พระกริ่งศิรากาศ มีความหมายว่า กริ่งยอดฟ้า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่ผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปบูชา และพระกริ่ง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างเหรียญพระบรมรูป ด้านหน้ามีพระบรมฉายาลักษณ์ และด้านหลังมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. โดยโปรดเกล้าฯให้ช่างในพระองค์เป็นผู้ปั้นแบบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงรับเป็นองค์ประธานอุปถัมภ์ในการดำเนินงานฝ่ายบรรพชิต

สำหรับพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล คุ้มเกล้าฯ
เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยใช้บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวงรวม 4 คืน นิมนต์พระเถรานุเถระทั่วประเทศทั้ง 4 ภาค รวม 108 รูป ร่วมทำพิธี
และได้โยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังบริเวณมณฑลพิธีด้วย
พิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากประชาชนมากมายเป็นประวัติการณ์ ในวันแรกของพิธีคือวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2527 มีการถ่ายทอด ทางโทรทัศน์ด้วย มีประชาชนมาร่วมในพิธีอย่างแน่นขนัดทุกคืน ยังความ ปลาบปลื้มแก่คณะกรรมการผู้จัดเป็นอย่างยิ่ง อนุสนธิจากพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป และพิธีพุทธาภิเษก ยังผลให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก ตลอดระยะเวลา 4 วันที่ทำพิธีพุทธาภิเษก ประชาชนพากันมาสั่งจองวัตถุมงคลยังที่ทำการชั่วคราว ณ บริเวณปะรำพิธีที่ท้องสนามหลวงอย่างล้นหลามทั้งกลางวันกลางคืน

พิธีกรรมมงคลวัตถุ คุ้มเกล้าฯ
จัดว่ามีพิธีกรรมดีเยี่ยม ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งเนื้อหาและการปลุกเสกที่ดี จะเห็นได้ว่าพิธีปลุกเสกมงคลวัตถุ คุ้มเกล้าฯ?รุ่น 1 นี้มีพิธีดีเยี่ยม ก่อนสร้างมงคลชุดนี้คณะกรรมการได้ระดมสรรพกำลังจัดหาวัตถุธาตุที่ดีด้วยการได้นำแผ่นทองคำ เงิน และทองแดงไปให้เกจิอาจารย์ทั่วประเทศทำการลงแผ่นทองจำนวนทั้งสิ้นถึง 1,121 องค์

นับว่าเป็นพิธีที่มีการลงแผ่นทองมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ เกจิอาจารย์ที่สำคัญทั้งหมดในประเทศไทยขณะลงแผ่นทองมาทั้งหมด เช่น หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพา สุรินทร์ หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า หลวงพ่อคำแสน วัดถ้ำผาเงา หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน หลวงพ่อหลุย วัดเจติยาวิหาร หลวงพ่อพวง วัดศรีธรรมาราม ยโสธร หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อโอด วัดจันเสน หลวงพ่อพุฒ วัดมณีสถิตย์ อุทัยธานี อีกมากมายคณานับได้ 1,121 องค์
ใครอยากรู้ไปขอดูรายชื่อได้ที่ มูลนิธิคุ้มเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลฯ หรือ ลานโพธิ์ ฉบับบที่ 964 ปักษ์แรก เดือนธันวาคม พ.ศ.2549

วัตถุมงคล โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ดำเนินการสร้างวัตถุมงคลมาแล้วรวม 3 รุ่น คือ
รุ่นที่ 1 สร้างเมื่อวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2527 เพื่อการรณรงค์หาทุนสร้างอาคาร คุ้มเกล้าฯ และจัดหาเครื่องมือ-อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยไว้ใช้ในอาคาร คุ้มเกล้าฯ โดยสร้างเป็น 4 แบบ คือ

1.แบบพระพุทธรูปบูชา พระพุทธรูปบูชา คุ้มเกล้าฯ เนื้อทองเหลืองขัดเงา ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว และพระพุทธรูปบูชา ศิรมงคล เนื้อทองเหลืองขัดเงา มี 2 ขนาดคือขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว

2.แบบพระกริ่ง สร้างเป็น 2 พิมพ์ด้วยกัน แต่เรียกกันว่า พระกริ่งศิรากาศ (พระกริ่งคุ้มเกล้า)
เช่นเดียวกันทั้ง 2 พิมพ์ และพระกริ่งทั้ง 2 รุ่นนี้ ได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในปี 2527 พร้อมกัน
ลักษณะขององค์พระพิมพ์ที่ 1 คล้ายพระกริ่งใหญ่ ด้านหน้าที่ชายผ้าทิพย์มีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ส่วนที่ฐานด้านหลังขององค์พระมีโค้ดตราปีกอยู่เหนือเครื่องหมายกรมแพทย์ทหารอากาศ ก้นฐานเรียบ
พิมพ์ที่ 2 สร้างเป็น 3 ชนิด คือ ชนิดเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ ลักษณะของ พระกริ่งศิรากาศ (พระกริ่งคุ้มเกล้า) พิมพ์ที่ 2 นี้ ด้านหน้าที่ชายผ้าทิพย์มีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ส่วนที่ฐานด้านหลังขององค์พระมีเครื่องหมายกรมแพทย์ทหารอากาศ ด้านล่างก้นฐานอุดเครื่องหมายตราปีก

3.แบบเหรียญ พระบรมรูปคุ้มเกล้าฯ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงกลม เป็น 4 ชนิด คือ ชนิดเนื้อทองคำ, เนื้อเงินใหญ่, เนื้อเงินเล็ก และเนื้อนวโลหะ

4.แบบ พระพิมพ์พระพุทธชินราช มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดสำหรับตั้งบูชาพร้อมกรอบ และชนิดสำหรับติดกระจก

รุ่นที่ 2 สร้างเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2542 มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1.แบบ พระหยดน้ำคุ้มเกล้าฯ มหามงคล (ทองคำ)
2.แบบ เหรียญพระบรมรูปคุ้มเกล้าฯ มหามงคล
รุ่นที่ 3 รุ่น ?พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) จำลอง โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 มีด้วยกัน 4 แบบ คือ
1.แบบ พระแก้วมรกตลอยองค์ มี 3 ขนาด คือ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มี 2 ชนิด, ขนาดหน้าตัก 2 นิ้ว มี 3 ชนิด, ขนาดหน้าตัก 1/2 นิ้ว มี 4 ชนิด
2.แบบ พระแก้วมรกต เหรียญทรงดอกบัว
3.แบบ พระแก้วมรกต เหรียญทรงซุ้ม
4.แบบ พระแก้วมรกต เหรียญทรงกลมรี
(ย่อจาก ลานโพธิ์ 964 เดือนธันวาคม 2549 โดย… นาวาอากาศเอก อภิชัย ศักดิ์สุภา

Loading

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “พระกริ่งคุ้มเกล้า เนื้อนวโลหะ ปี 2522”

Your email address will not be published. Required fields are marked *