พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พิมพ์พระเนตรจุด องค์ที่ 11

พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พิมพ์พระเนตรจุด องค์ที่ 11

พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พิมพ์มาตฐาน หายากครับสภาพนี้ รุ่นแรกและรุ่นเดียว

หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ พระหางหมากนี้ เด่นทางด้านวาจาเป็นที่จับใจ-พอใจ ติดต่อธุระ-การงานเป็นเยี่ยมเลยครับ ด้านป้องกัน-ก็รอบด้านครบสูตร-จนถึงกันรังสี ด้านลาภ-เสมอกันกับพระคำข้าวมหาลาภ คือลาภมาก-ลาภหนัก พิมพ์นี้หน้าพระพักต์งดงามเหมือนเทวา ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพิมพ์นี้-และเป็นพิมพ์ที่ของเลียนยาก จึงถือว่าน่าเก็บไว้บูชา

อานุภาพของ พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
 ใครนำไปใช้ในทางที่ผิด จะเกิดอวมงคล…!
พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
พระ หางหมาก พุทธคุณเด่นทางด้านป้องกันภัยและเจรจาเป็นที่จับใจ เคล็ดลับด้านลาภ ควรภาวนาคู่กับพระคาถาเงินล้าน ทำจนเป็นเวลานาน (ฌาน) แผ่เมตตาไปให้ทั่วจักรวาลอธิษฐานขอได้วันละ 1 อย่าง
พระ ทุกองค์มีเทวดารักษาอยู่ท่านจะสงเคราะห์ และให้ใส่บาตรพระอย่างน้อยหนึ่งรูป หรือใส่เงินถวายพระไว้ที่เก็บเงิน สิ้นเดือนนำไปถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหารพระ และควรงดเว้นการลักทรัพย์ ฉ้อโกง เมื่อทำตามนี้จะเห็นผลโดยเร็วพลัน ทางด้านลาภมีผู้ทำสำเร็จมาแล้วหลายราย อย่างน้อยเป็นเบี้ยต่อไส้ คือเมื่อเงินที่ใช้ไปใกล้หมด จะมีเงินก้อนใหม่เข้ามาแทน
พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระหางหมากนี้ เด่นทางด้านวาจาเป็นที่จับใจ-พอใจ

ติดต่อธุระ-การงานเป็นเยี่ยมเลยครับ ด้านป้องกัน-ก็รอบด้านครบสูตร-จนถึงกันรังสี ด้านลาภ-เสมอกันกับพระคำข้าวมหาลาภ คือลาภมาก-ลาภหนัก


เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อวิรัช โอภาโส อดีตเลขาหลวงพ่อฯ เจ้าอาวาสวัดธรรมยาน กล่าวถึงเรื่องการสร้างพระหางหมาก

(จากหนังสือปฐมธรรมยาน)
หลวงพี่ประทีป หลวงพี่บัญชา อาตมา ปรึกษากันสร้างพระหางหมาก เพราะคนมารอพระคำข้าวต้องรอออกพรรษา (รอหลวงพ่อเสกข้าวในพรรษา ๓ เดือน) จึงปรึกษากับหลวงพี่อนันต์ ท่านเห็นดีด้วย จึงให้ท่านกราบเรียนถามหลวงพ่อเลย หลวงพ่อเห็นดีด้วยเรื่องสร้างพระหางหมาก ก็ถามอาตมาว่า จะเอาแบบไหนดี ตอบว่าเอาพิมพ์สมเด็จโต (สมเด็จ ๓ ชั้น) หลวงพ่อว่า “ดี ให้เอาสีชมพู จะได้เข้ากับสีจีวร” ขณะหลวงพ่อนั่งรับแขก หลวงพ่อเรียกอาตมาเข้าพบ พูดว่า

“พระหางหมากเปลี่ยนเป็นพระยืน ๓๐ศอก ดีไหม?” ก็ตอบว่า “ดีครับ”
“แต่ให้ท่านนั่งลงนะ” ตอบว่า “ครับ”

อาตมาก็มานั่งคิดว่า แล้วท่านอุ้มบาตรอยู่จะทำอย่างไร? พอหลวงพ่อเลิกรับแขก ลุกขึ้นยืนจะไปเข้าห้องน้ำ อาตมาก็เข้าไปถามหลวงพ่อว่า

“หลวงพ่อครับ หลวงพ่อจะให้ทำพระหางหมากพิมพ์พระยืน ๓๐ ศอก แต่ให้ท่านนั่งลง แต่ท่านอุ้มบาตรอยู่ จะทำไงครับ ต้องให้ท่านอุ้มบาตรด้วยหรือเปล่าขอรับ? ”

ไม้เท้าลอยมา โป๊ก! มึนเลย ท่านยืนหัวเราะ บอกว่า

“แกจะโง่ให้ท่านอุ้มบาตรอยู่ทำไม ก็เอาบาตรออกซิ”

ก็นึกขึ้นได้ว่า ที่หลวงพ่ออนุญาตให้สร้างแบบสมเด็จโต เพื่อรักษากำลังใจลูกศิษย์ (พวกเรา) จึงคล้อยตามไปก่อน จึงนึกย้อนไปได้ว่า เคยมีคนมาถามหลวงพ่อว่า

“ทำไมหลวงพ่อไม่สร้างพระขี่ครุฑ ขี่ไก่ แบบหลวงพ่อปานบ้าง?”
หลวงพ่อเลยตอบว่า “สร้างไม่ได้หรอก เป็นการตีเสมอครูบาอาจารย์ เป็นการไม่สมควร” นี่หลวงพ่อก็เคารพสมเด็จโตเป็นครูบาอาจารย์เช่นเดียวกัน เพราะว่าการสร้างพระคำข้าว หลวงพ่อก็ให้สร้างแบบจำลองพระประธานในวิหาร ๑๐๐เมตร ซึ่งเป็นพระคำข้าวองค์แรกของวัดท่าซุง ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า หลวงพ่อให้เราเอาแบบพระพุทธรูปในวัดท่าซุงเป็นแบบ ไม่ต้องเลียนแบบที่อื่นเขาด้วย

หลังพิธีพุทธาภิเษกที่วิหารแก้ว ๑๐๐เมตร หลวงพ่อเมตตาเล่าให้ฟังว่า “สมเด็จองค์ปัจจุบันเสด็จมาเป็นประธานเอง ระหว่างปลุกเสกมองไปเห็นสมเด็จหางหมาก แต่ละองค์เปล่งแสงสว่างจ้ายิ่งกว่าดวงไฟ ๑๐๐ แรงเทียนซะอีก…”

“สมเด็จท่านตรัสว่า อานุภาพของสมเด็จหางหมากนั้น รอบรัศมี ๔เมตร กัมมัตภาพรังสีจะเข้าไม่ได้เลย ถ้าใช้ในการรบเพื่อประเทศชาติ คำว่าตายรับรองว่าไม่มี แต่ถ้าใครนำไปใช้ในทางที่ผิด จะถูกปืนยิงแสกหน้าตาย…!”

สำหรับหางหมากหรือหางพลูนั้น เมื่อเสกหมากก่อนฉันแล้วนำหางพลูที่เหลือมาผสมกับผงทำเป็นพระ แล้วนำเข้าพุทธาภิเษกอีกครั้ง

สำหรับผลของพระคำข้าวนั้น มีความต้องการในทางลาภมากที่สุด และอย่างอื่นก็ขอท่านไว้ทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลเป็นพิเศษแด่ท่านที่นำไปบูชาในระยะใกล้มาแล้ว ขอให้ถามผลจากท่านที่เคารพจริงก็แล้วกัน สำหรับพระหางพลูนี้มีผลเช่นเดียวกัน แต่หนักไปในทางที่พูดเป็นที่จับใจคนมีลาภสักการะเสมอกัน ”


พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

สร้างจำนวน 1 ล้านองค์ โดย 600,00 องค์แรก

 ปลุกเสกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2533 ( หลวงพ่อพูดในงานพิธีปลุกเสกว่าพระหางหมากเข้าพิธีในวันนี้มีจำนวน 6 แสนองค์ จากวิดีโอเทปพิธีปลุกเสกพระหางหมากวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2533 ) 

ส่วนอีก 4แสนองค์ ปลุกเสกเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2533 (พร้อมกับพระคำข้าวรุ่น 2 ที่ปลุกเสกคร้ังแรก )

****************************************

วิธีอาราธนาพระหางหมาก-พระคำข้าว ( พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ )

คำอาราธนา ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด รวมทั้งเทวดาและพรหม ครูบาอาจารย์ทั้งหมด มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา เป็นที่สุด แล้วตั้งนะโม ๓ จบ ปฏิบัติตามปกติว่าอิติปิโส ๑ จบ หลังจากนั้นให้อธิษฐานเอาตามประสงค์ เมื่ออธิษฐานแล้ว ปลุกด้วย คาถาปลุกพระของหลวงพ่อปานว่า

“ อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดชะ เดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่มะอะอุนี้เถิด 

********************************************

เพื่อความคล่องตัวในด้านการเงิน ใช้ท่องกับคาถาเงินล้านครับ การเงินจะคล่องตัว

คาถาเงินล้าน

(ตั้ง นะโม ๓ จบ )

สัมปจิตฉามิ
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
( บูชา ๙ จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด )


พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”

พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย

web (main) พระเครื่อง  : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง

Web ( มุมพระ) : มุมพระ https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507

Facebook : https://www.facebook.com/ponsrithong/

IG : https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/

This amulet get a lifelong warranty.
If you are audited there was spurious.
My shop (Ponsrithong Amulet) Refund the full amount lifelong.
And in the future if you want to sell amulet with the warranty card.
The Center amulet welcomes to buy in the market price of 20%.
by bule chiangrai +66877124640

Loading

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “พระหางหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พิมพ์พระเนตรจุด องค์ที่ 11”

Your email address will not be published. Required fields are marked *