พระขุนแผนเคลือบ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม ปี2495 พิมพ์อกใหญ่ นิยม

฿15,000.00

โทร : 063-969-5995

ID.LINE busoftware52
#พระทุกองค์รับประกันพระแท้ตลอดชีพ
📍มีรูปบัตรรับประกันจากร้านพลศรีทอง(ไม่ใช่บัตรแข็ง) ตัวอย่าง..

พระขุนแผนเคลือบ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม ปี2495 พิมพ์อกใหญ่ นิยม

หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม เป็นศิษย์ หลวงพ่อกลั่น


พระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังแห่งเมืองกรุงเก่า ท่านได้จัดสร้าง พระขุนแผน ขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๕ โดยมี ๒ ศิษย์เอก คือ พระมหานิยม และ พระเฉลิม เป็นผู้ช่วย มวลสารที่นำมาจัดสร้างพระขุนแผนเคลือบนั้น ผู้ที่รู้เห็นการจัดสร้าง และจากข้อมูลที่รวบรวมได้บันทึกไว้ว่ามี พระขุนแผนเคลือบ พระขุนแผนในพุทรา พระวัดตะไกร พระกริ่งคลองตะเคียน พระโคนสมอ พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พระหลวงพ่อปาน พระวัดคู้สลอด พระกรุต่างๆ ของเมืองอยุธยา รวมถึง พระขรัวอีโต้ ที่แตกหักชำรุด

ซึ่งพระมหานิยม นำมาจากกรุงเทพฯ จำนวนมาก พระขุนแผน ที่จัดสร้างขึ้นมานั้น มีมากมายหลายพิมพ์ แต่ขอกล่าวถึงเพียง พระขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ และพิมพ์แขนอ่อนเท่านั้น หลังจากที่หลวงพ่ออั้นได้ปลุกเสกเดี่ยวนานถึง ๓ เดือนแล้ว ท่านได้นำไปให้หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงปู่สี วัดสะแก ปลุกเสกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถึง ๓ วัน ๓ คืน

 

ด้วยเหตุนี้ พระชุดนี้จึงมีพุทธคุณล้ำเลิศ เกิดประสบการณ์โดดเด่นมาแล้วมากมาย ไม่แพ้พระกรุ โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม เป็นที่เลื่องลือกันอย่างกว้างขวาง พระขุนแผนเคลือบ หลวงพ่ออั้น องค์ที่มีสภาพสวยสมบูรณ์ ระดับแชมป์

เคยมีคนบุกซื้อถึงหลายหมื่นส่วนสภาพของพระสวยทั่วๆ ไปอยู่ในหลักพันแก่ๆ ถึงหมื่นเศษ ไม่ใช่หลักร้อยถึงพันเศษ ถูกๆ แบบที่หลายคนเข้าใจ เพราะปัจจุบันหาพระแท้ได้ยาก และผู้ที่ดูพระชุดนี้ได้ขาดก็มีน้อยมาก แทนนับคนได้ ที่พบเห็นในสนามพระทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระเก๊เก่ามาก่อน จนกลายมาเป็นพระแท้และติดรางวัลกันมากมาย โดยเฉพาะชุดพระเก๊ที่ออกมาในช่วงปี ๒๕๓๕ หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้รู้ว่า พิมพ์มีจุด พระขุนแผน หลวงพ่ออั้น ประวัติพระพิมพ์และพระคาถาอาราธนาคุณพระ โดยหลวงพ่ออั้นพร้อมด้วยพระเฉลิม เเละพระน้องๆ ได้ พระเคลือบเรือนเเก้ว (พระขุนเเผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล) และพระพิมพ์อื่นๆ ทั้งบริสุทธิ์ และชำรุดจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้รวบรวมพระชำรุดที่ได้จากกรุวัดราชบูรณะ และพระชำรุดจากแห่งอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ฯลฯ เป็นส่วนผสมหลัก

 

ทั้งนี้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๖ วัดราชบูรณะ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ โดยได้รับทุนบูรณปฏิสังขรณ์จากท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ จึงได้จัดสร้างพระพิมพ์ขึ้น โดยใช้ผงเดิมที่ได้มาจำนวนนั้น เพื่อมอบให้เเก่ผู้สละทรัพย์ทำบุญสร้างวัด เเละเป็นพุทธนุสติอีกโสตหนึ่ง

พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นคือ ๑.พระพิมพ์เรือนแก้ว (พระขุนเเผน) พิมพ์ใหญ่ เเละพิมพ์เล็ก ทั้งเคลือบเเละไม่เคลือบ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระพิมพ์ขุนเเผนเคลือบ เเละไม่เคลือบของเก่า

๒.พระพิมพ์นางพระยา เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระนางพระยาที่บรรจุอยู่ในกรุวัดราชบูรณะนั้น

๓.พระพิมพ์สมเด็จ โดยท่านผู้คุ้นเคยขอให้ถ่ายพิมพ์จากพระสมเด็จ วัดระฆัง องค์เดิม เพื่อจัดสร้างเป็นพระเครื่องชุดนี้ พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย เนื้อนวโลหะ (โลหะ ๙ ชนิด) คือ ผงตะไบ ทองคำ นาก เงิน สัมฤทธิ์ ทองแดง ทองเหลือง ทองขาว เหล็ก และ ชิน โดยหลวงพ่อให้ความหมายย่อๆ ว่า เพื่อความก้าวหน้า เพื่อก้าวสู่ความสุข ความเจริญ ของผู้มีไว้สักการะบูชา เพื่อก้าวตามรอยพระยุคลบาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คำสอนของพระองค์มีองค์ ๙ พุทธคุณมีองค์ ๙ ฯลฯ และ โลกุตตระธรรม ๙ ประการ ทั้งนี้ ประกอบด้วยพระวิเศษเเละพระชำรุดของท่าน ซึ่งร่วมการสร้างดังนี้ คือ ท่านพระครูศีลกิตติคุณ (หลวงพ่ออั้น) วัดพระญาติฯ มีผงพุทธคุณ ผงมหาราช ดอกบัวองค์พระประทุม ว่าน ๑๐๘ พระครูปลัดสุวัฒนคุณ วัดราชบูรณะ มอบพระพิมพ์พระนางพระยา พระผงสมเด็จพระศรีสมโพธิ์ (ขรัวอีโต้) พระมหาประยงค์ มอบผงเนื้อไม้อาถรรพ์ เเละว่าน๑๐๘ พระอมร มอบพระพิมพ์ขุนแผน อยุธยา นายจำรัส ถวายพระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ฯ, นายตุ้ย ถวายพระพิมพ์พระนางพระยา กรุวัดราชบูรณะ, นายบุญมี ถวายพระพิมพ์ท่ามะปรางค์ และพระนางพระยา รวมทั้งพระพิมพ์ขุนแผน กรุโรงเหล้า เเละมวลสารอีกมากมายฯ, หลวงพ่อโอภาสี บางมด มอบดินพระแท่นดินพระพุทธบาท ศิลากาญน์ เเละทรายเเก้ว ฯลฯ

การสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ สร้างโดยการรวมถวายใจของพระวัดพระญาติ พระเณรวัดราชบูรณะ และกำลังทรัพย์ของญาติโยมใน จ.พระนคร (กรุงเทพฯ) โดยเจตนาจรรโลงพระพุทธศาสนา เเละเจริญศรัทธาของท่านผู้ใจบุญ ไม่มีการหักค่าใช้จ่าย หรือรับทุนคืนโดยประการใด ทุกวันนี้ พระขุนแผนเคลือบ หลวงพ่ออั้น กำลังได้รับความสนใจจากนักสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ก็ด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งหลวงพ่ออั้นได้บันทึกเอาไว้ ดังได้กล่าวมาทั้งหมดนี้

 


สำหรับประวัติของท่านมีอยู่ว่า เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2435 โยมบิดาชื่อ นายคล้าย ศุภสุข โยมมารดาชื่อ นางสมบุญ ศุภสุข ส่วนชาติภูมิของท่านคือบ้านท่าหิน ต.ธนู อ.อุทัย อยุธยา มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาทั้งหมด 7 คนด้วยกัน (ไม่นับรวมตัวท่านซึ่งเป็นคนที่ 2) แต่ในที่นี้จะขอข้ามรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไป โดยใคร่เอ่ยถึงเพียงน้องสาวที่ถัดจากท่านลงมา ซึ่งมีชื่อว่า นางฮิ่ม จันทนินทร์ เพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะมีความสำคัญตรงที่ท่านผู้นี้เป็นโยมมารดาของ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม (ซึ่งเคยเอ่ยถึงอยู่หลายครั้งด้วยกัน)

สำหรับประวัติในช่วงเยาว์วัยนั้น คงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำในที่นี้ เพราะในตอนต้นๆ ได้เล่าไปแล้วอย่างค่อนข้างละเอียดหลากหลาย ขอข้ามไปช่วงที่บวชเป็นพระเลยทีเดียวดีกว่า หลวงพ่ออั้น ท่านบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดพระญาติการาม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2456 โดยมี หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อฉาย คงฺคสุวณฺโณ (เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูรัตนาภิรมย์) วัดตองปุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนคู่สวดอีกองค์ หรือพระอนุสาวนาจารย์นั้นไม่ปรากฏชัดว่าเป็นท่านผู้ใด คงได้แต่สันนิษฐานกันเพียงว่า น่าจะเป็น พระอาจารย์รอด วิฑุโร วัดอโยธยา (ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยอยู่วัดกะสังข์ และเป็นอาจารย์สอนมูลกัจจายน์ให้ท่าน หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะเป็น หลวงพ่อเลื่อง วัดประดู่ทรงธรรม) ได้รับฉายาว่า คนฺธาโร

ท่านเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาเรื่อยมา จนเมื่อพระอุปัชฌาย์ถึงมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2477 จึงได้ก้าวขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน (โดยใช้คำนำหน้านามว่า พระอธิการอั้น) ครั้นถึง พ.ศ.2478 ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหันตรา (โดยใช้คำนำหน้าว่า เจ้าอธิการอั้น) หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี (พ.ศ.2480) ก็ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ สามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรในเขตปกครองได้

อนึ่ง สำหรับเรื่องพระอุปัชฌาย์นี้ มีเกร็ดบอกเล่ากันในหมู่ลูกศิษย์ว่า ก่อนหน้าที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น มีการเรียกไปฝึกอบรมที่วัดสุวรรณดาราราม โดยมี พระศรีสุธรรมมุนี (อาจ อาสโภ) หรือที่ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นวิทยากรใหญ่ (ซึ่งสมัยนี้นิยมเรียกกันว่า ติวเข้ม หรืออะไรทำนองนั้น) สาระสำคัญของเกร็ดนี้มีอยู่ว่า เมื่อถึงคราวที่ต้องเข้าฝึกซ้อมกับ เจ้าคุณศรีฯ ซึ่งมีดีกรี เปรียญ 8 ประโยค องค์นั้น ท่านได้กำชับให้ หลวงพ่ออั้น หัดว่าภาษาบาลีเป็นสำเนียงมคธเหมือนที่ตนเองกล่าวนำให้ได้ แต่ว่าเท่าไรๆ ก็ไม่เหมือนสักที ทำให้ เจ้าคุณศรีฯ ไม่พอใจพูดตะคอกว่า ต้องว่าให้ได้ เมื่อถูกตะคอกใส่หน้าเช่นนั้นทำให้ หลวงพ่ออั้น ฉุนขาด ตอบกลับไปในทันที่ว่า ก็ผมเป็นคนไทยภาคกลาง ส่วนเจ้าคุณเป็นคน…ภาคอีสาน จะให้ว่าเหมือนกันได้อย่างไร ซึ่งส่งผลให้ บ่อนแตก ต้องหยุดฝึกซ้อมเพียงแค่นั้น

อย่างไรก็ดี เห็นควรเล่าเสริมตรงนี้สักเล็กน้อยว่า ในช่วงที่อยู่ อยุธยา เจ้าคุณศรีฯ องค์นี้ดูเหมือน จะมีเรื่องขัดแย้ง หรือไม่ลงรอยกับพระสังฆาธิการที่นั่นหลายองค์เต็มที โดยเฉพาะกรณีของ พระสุวรรณวิมลศีล (ลับ) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณดารารามในขณะนั้น รุนแรงถึงขั้นตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง กลับไปอยู่วัดบันไดช้างอย่างเก่า ทำให้ท่านดังกล่าวสวมตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนั้นสืบแทนต่อมา จนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ก่อนจะย้ายกลับไปอยู่วัดมหาธาตุอันเป็นสำนักเดิม ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็น พระพิมลธรรม และ สมด็จพระพุฒาจารย์ ตามลำดับ (สำหรับเรื่องที่ท่านผู้นี้ต้องคดีอาญา และถูกถอดจากสมณศักดิ์อยู่พักหนึ่ง ของดเว้นไม่กล่าวถึงในที่นี้แล้วกัน เพราะสามารถหาอ่านจากที่อื่นได้โดยง่ายอยู่แล้ว)

อีกองค์หนึ่งแม้จะถึงกับยื่นใบลาออกเช่นกัน แต่ถูกท่าน เจ้าคุณศรีฯ ใช้ชั้นเชิงระงับยับยั้งเอาไว้ได้ องค์ดังกล่าวนี้ได้แก่ หลวงพ่อเพชร วัดนนทรีย์ ซึ่งเล่ากันว่า ขอลาออกทั้งตำแหน่ง กรรมการศึกษาและเจ้าอาวาส แต่ท่านองค์นั้นได้ยื่นเงื่อนไขให้ หลวงพ่อเพชร กลับมาล่ารายชื่อชาวบ้านสักประมาณ 10 คน จึงจะอนุมัติให้ลาออกได้ แต่ผลสุดท้ายปรากฏว่าไม่อาจหาชาวบ้านร่วมลงชื่อได้แม้แต่รายเดียว

นอกจากเรื่องตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวมา น่าสนใจว่าในส่วนของสมณศักดิ์นั้น หลวงพ่ออั้น ยังได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่ พระครูศีลกิตติคุณ เมื่อ พ.ศ.2493 ซึ่งเรื่องนี้สร้างความ ปีติยินดีให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์เป็นยิ่งนัก จึงได้พร้อมใจกันจัดงานฉลองให้ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2494 และในโอกาสเดียวกันนี้ หลวงพ่ออั้น ได้จัดสร้างเหรียญรูปท่านขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นเครื่องตอบแทนแก่ผู้ที่ร่วมบริจาคเงินช่วยงาน อนึ่ง คงต้องกล่าวเอาไว้ในที่นี้ด้วยว่า ต่อมาในปี พ.ศ.2496 หลวงพ่ออั้น ได้สร้างเหรียญคล้ายกันขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งมีข้อแตกต่างกันตรงที่เหรียญรุ่น (2) นี้ ด้านหน้าปรากฏลายกนกอยู่ใกล้หัวเข่าขวาซ้าย (ของรูปท่าน) ส่วนด้านหลังนั้นระบุปี พ.ศ. ที่สร้างเป็น ๒๔๙๖ ตกมาถึง พ.ศ.2509 หลวงพ่ออั้น ได้จัดงานฉลองอาคารเรียน (ร.ร.วัดพระญาติฯ) หลังใหม่ และในโอกาสเดียวกันนี้มีการจัดสร้างเหรียญรูปท่านขึ้นมาเป็นรุ่นที่ 3 ลักษณะคล้ายใบเสมา

สำหรับ เหรียญเสมา นี้ มีข้อควรรู้อยู่ประการหนึ่งว่า ต่อมาในปี พ.ศ.2511 มีการสร้างขึ้นมาอีกรุ่นต่างหาก เนื่องจาก หลวงพ่ออั้น ได้รับเป็นประธานในการหาทุนก่อสร้าง ตึกสงฆ์อาพาธ ของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา แต่ทว่าเหรียญรุ่นนี้ต่างกับรุ่นก่อนตรงที่ ด้านหลังได้ระบุข้อความ บอกถึงวัตถุประสงค์ ในการสร้างเอาไว้ให้เป็นที่สังเกตอย่างชัดเจน (ส่วนเหรียญที่เคยกล่าวว่าด้านหน้ามีการตอกโค้ดตรงสังฆาฏินั้น เป็นเหรียญลักษณะเดียวกันที่ หลวงพ่อเฉลิม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2512)

ส่วนเหรียญที่ หลวงพ่ออั้น สร้างเป็นรูปของท่านโดยเฉพาะ มีทั้งหมดรวม 4 รุ่น หรือ 4 พิมพ์ ดังได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้า นอกจากนี้แน่นอนว่าสร้างขึ้นโดย หลวงพ่อเฉลิม (หรือ พระครูสังฆรักษ์เฉลิม เขมทสฺสี) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันบ้าง สร้างโดยพระเกจิอาจารย์หรือคณะกรรมการวัดอื่นๆ บ้าง อย่างเช่น วัดสะแก วัดพรานนก วัดลุ่ม วัดโพธิ์สาวหาญ วัดหนองน้ำส้ม และวัดโคกมะยม เป็นต้น แต่กระนั้นก็น่าสังเกตอย่างมากว่า เหรียญที่สร้างขึ้นมา ทุกรุ่นทุกพิมพ์ล้วนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งนั้น

อย่างไรก็ดี หลังจากที่ หลวงพ่ออั้น สร้างเหรียญรุ่น ตึกสงฆ์ ได้ไม่นานนัก ท่านก็จากหมู่ญาติและลูกศิษย์ไปแบบไม่มีวันกลับ เพราะมรณภาพอย่างกะทันหันที่ จ.เชียงใหม่ ในคราวที่ได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระสิงห์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2512 ด้วยโรคลมปัจจุบัน หรือที่นิยมเรียกกันว่าหัวใจวาย หลังจากเก็บศพไว้ ณ วัดพระญาติฯ เป็นเวลาช้านานถึง 25 ปี บรรดาศิษยานุศิษย์และหลานๆ ของท่าน เพิ่งจัดงานพระราชทานเพลิงศพให้ใน พ.ศ.2536 ที่ผ่านมานี้เอง

และถือว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอดเกจิแห่งพระนครศรีอยุธยา ที่ได้สร้างสุดยอดพระเครื่องพุทธคุณสูง สุดยอดมวลสาร สุดยอดพิธีปลุกเสก ในองค์นี้ที่มีสภาพสวยงาม สนนราคาที่หลักหมื่นขึ้นไป


พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย

. https://ponsrithong.com/

web (main) พระเครื่อง  : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง

Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/

Loading

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “พระขุนแผนเคลือบ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม ปี2495 พิมพ์อกใหญ่ นิยม”

Your email address will not be published. Required fields are marked *