พระกริ่งมหาวีโร พระอาจารย์ทวี วัดพระธาตุบังพวน เนื้อนวโลหะก้นเงิน มีจารหลวงพ่อ ปี2548 พร้อมกล่องเดิม
งานแกะหล่องของช่างสมร
ประวัติวัดพระธาตุบังพวน
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยังทรงพระราชทานชื่อวัดในหลักศิลาจารึกว่า “วัดพระธาตุบางพวนวรเจดีย์ศรีสัตตมหาทาน” ส่วนคำว่าบังพวนนั้นแผลงมาจากคำว่าบังโคน ซึ่งแปลว่ากระเพาะ ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุขี้โพ่น แล้วจึงแผลงมาเป็น พระธาตุบางพวนและมาเป็นพระธาตุบังพวน ในปัจจุบันนี้ ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้วัดพระธาตุบังพวน ไม่ต้องเสียส่วยให้ราชสำนักล้านช้าง แต่ให้เสียให้วัดแทนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าวัด นั่นเอง หมู่บ้านที่เป็นข้าวัดได้แก่บ้านพระธาตุบังพวน บ้านท่าขอนแดง บ้านหนองโรงโนนขาว บ้านธาตุน้อย บ้านดอนหมู่เก้า บ้านพระเจ้า บ้านางเทียม บ้านยำกำ บ้านหนองนางตาลดั้ว บ้านหนองกก บ้านถ่อนตัว บ้านเวียงคุก บ้านเวียงงัว บ้านบุ่งเล บ้านดอกคำ (ปัจจุบันนี้ชาวบ้านยังทำกันอยู่ในช่วงบุญเดือน ๖) พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยังทรงสร้างพระอารามบริเวณที่พบหินศิลามาสร้างอุโมงค์ในสมัยพระยาจันทบุรี ซึ่งห่างจากวัดพระธาตุบังพวน ราว ๕ กิโลเมตร หรือบริเวณวัดบ้านหนองกก ตำบลถ่อน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงเป็นกษัตริย์ที่ยึดมั่นเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดวาอารามและพระพุทธรูปต่างๆ มากมาย เช่น พระธาตุหลวง เวียงจันทน์ สปป.ลาว พระเจ้าองค์ตื้อ พระสุก พระเสิม และพระใส ตลอดถึงโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดหนองคาย และบริเวณใกล้เคียงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงครองราชย์สมบัติถึง พ.ศ.๒๐๑๔ รวม ๑๒ ปี พระองค์ก็ทรงยกทัพไปปราบกบฏเผ่าข่าที่แขวงใต้ แล้วก็หายตัวไปอย่างไม่มีใครทราบ ต่อมาราชวงศ์ของพระองค์ ก็ปกครองล้านช้างเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.๒๓๒๑ สมัยพระเจ้าศิริบุญสารก็เสียเมืองแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๗๑ ก็เกิดข้อพิพาทระหว่างเวียงจันทน์กับกรุงเทพฯ ผู้คนถูกกวาดต้อนและหลบหนีไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเกิดจลาจลจีนฮ่อเข้ามาปล้นสะดม เกิดโรคอหิวาตกโรค ทำให้ขาดคนดูแลองค์พระธาตุบังพวน จึงทำให้ทรุดโทรมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
สมัย พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปัจจุบัน
เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมากมายในจังหวัดหนองคายจนถึง พ.ศ.๒๔๙๕ ทางวัดพระธาตุบังพวนก็มีพระภิกษุชาวเวียงจันทน์มาจำพรรษา ๑ รูป คือท่านหลวงพ่อขุนระหันต์ ซึ่งถือว่าท่านมาอยู่รูปแรกในช่วงชาวบ้านจำได้ว่ามีพระมาอยู่ที่วัดพระธาตุบังพวนและต่อจากนั้น พ.ศ.๒๔๙๘ ทางคณะสงฆ์จังหวัดหนองคายโดยมีท่านเจ้าคุณพระปรีชาญาณมุนี เป็นเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย จึงส่งวิปัสสนาจารย์มาอยู่ที่วัดพระธาตุบังพวนเป็นเจ้าอาวาส คือ ท่านพระครูเจติยานุรักษ์ (หลวงพ่อบุญมา ยโสธโร) ซึ่งท่านมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเจ้าคณะตำบลในสมัยนั้นจนถึงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๓ เวลา ๐๔.๐๐ น. ซึ่งเป็นวันที่ไม่มีใครคาดคิด เพราะองค์พระธาตุบังพวนได้พังทลายลง ทางด้านทิศตะวันออก เพราะฝนได้ตกหนักตลอดทั้ง ๑๐ กว่าวันและองค์พระธาตุบังพวนองค์เดิมก็เอียงประมาณ ๘๐ องศา
การบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุบังพวน
กรมศิลปากรได้บูรณะโดยการขุดเจาะในการขุดเจาะนั้น ได้พบของมีค่าต่างๆ มากมาย และขุดลงลึก ๖ เมตร พบแผ่นหินหนาจึงหยุดขุด (แผ่นหินปิดอุโมงค์สมัยพระยาจันทบุรี) แล้วกรมศิลปากรจึงก่อสร้างโครงเหล็กรอบฐานคอนกรีตเสริมใหม่ ฐานล่างเป็นศิลาแลงสูง ๑ เมตรเศษ ต่อมาเป็นอิฐฐานทักษิณ ๓ ชิ้น บัวคว่ำ ๒ ชิ้นต่อด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมบัวปากระฆัง บัวสายรด ๓ ชิ้น รูปดอกปลีบัวตูมแล้วตั้งฉัตร ๕ ชั้นเนื้อทองแดงปิดทองช่วงบนนี้ซุ้มปฏิมาฐานล่างกว้างด้านละ ๑๗.๒๐ เมตร สูงถึงยอดฉัตร ๓๔.๒๕ เมตร ศิลปะประยุกต์แบบท้องถิ่น ก่อสร้างแล้วเสร็จ พ.ศ.๒๕๒๐ สิ้นงบประมาณในสมัยนั้นทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในสมัยที่ท่านพระครูเจติยานุรักษ์เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดมาตามความเหมาะสมจนถึง วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๔ ท่านก็ได้มรณภาพ รวมอายุ ๘๐ ปี ปัจจุบันท่านพระครูภาวนาเจติยาภิบาล (พระอาจารย์ ทวี มหาวีโร) เป็นเจ้าอาวาสก็มีการบูรณะปรับปรุงวัดพระธาตุบังพวนให้ทุกท่านได้เห็นดังเช่นทุกวันนี้
อันวิเศษของ “พระกริ่ง” ที่มีมากไปกว่านั้น นั่นคือจาก มหาปณิธาน 12 ประการ ของ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต และจากบันทึกของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงพระกริ่งไว้ว่า “พระกริ่ง” คือ พระไภษัชยคุรุพระพุทธเจ้า พระองค์เป็นที่นับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน มีพระประวัติในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง คือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา ราชามูลประณิธานสูตร และ มหาปณิธาน 12 ประการ อันเป็นคุณอันวิเศษที่ผู้ใดก็ตาม ได้ครอบครองหรือบูชา “พระกริ่ง” ด้วยความเลื่อมใส หรือเอ่ยพระนาม รำลึกถึงพระองค์ จะได้รับอานิสงส์แห่งการบูชามีดังต่อไปนี้
- ขอให้สรรพสัตว์จงมีวรกายดุจเดียวกับพระองค์
- ขอให้วรกายของพระองค์มีสีสันดุจไพฑูรย์ มีรัศมีรุ่งโรจน์โชตนาการยิ่งกว่าแสงอาทิตย์และแสงจันทร์ เพื่อส่องทางให้สัตว์ที่หลงในอบายคติพ้นไปสู่คติที่ชอบ
- ขอให้สรรพสัตว์ได้รับโภคสมบัตินานาประการ อย่าได้มีความยากจนใดๆ
- หากสรรพสัตว์ใดมีมิจฉาทิฐิ ขอให้พระองค์ทำให้เขาตั้งมั่นในสัมมาทิฐิในโพธิมรรค
- หากสรรพสัตว์ใดประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยแห่งพระองค์ขอให้อย่าได้มีศีลวิบัติ หากมีศีลวิบัติ เมื่อได้สดับพระนามแห่งพระองค์จงบริสุทธิ์บริบูรณ์
- หากสรรพสัตว์ใดมีรูปกายไม่งาม ผิวไม่ผ่องใส โง่เขลาเบาปัญญา ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ หลังค่อม สารพัดพยาธิทุกข์ต่างๆ เมื่อได้สดับพระนามแห่งพระองค์ขอให้หายและหลุดพ้นจากปวงทุกข์เหล่านั้น มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ผิวกายผ่องใส
- ขอให้สรรพความเจ็บป่วยทั้งหลายจงหมดไป และขอให้สรรพสัตว์เป็นผู้มีกายใจอันผาสุก มีบ้านเรือนอาศัย พรั่งพร้อมด้วยธนสารสมบัติ จนที่สุดสำเร็จแก่พระโพธิญาณ
- หากอิสตรีใดเบื่อหน่ายในเพศแห่งตน เมื่อสดับพระนามแห่งพระองค์ จักสามารถเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย จนที่สุดสำเร็จแก่พระโพธิญาณ
- ขอให้สัตว์ทั้งหลายหลุดพ้นจากข่ายแห่งมาร และตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิได้
- 10. หากสรรพสัตว์ใดต้องพระราชอาญา ต้องคุมขัง หรือต้องอาญาถึงประหารชีวิต ตลอดจนได้รับการดูหมิ่นดูแคลน หากเอ่ยพระนามแห่งพระองค์และอาศัยบารมีและคุณาภินิหาริย์ของพระองค์ ขอสัตว์เหล่านั้นจงหลุดพ้นจากปวงทุกข์
11. ขอให้สัตว์ทั้งหลายบริบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค มีความอิ่มหนำสำราญ
12. ขอให้สัตว์ทั้งหลายบริบูรณ์ด้วยสรรพอาภรณ์ เครื่องประดับ ธนสารสมบัติและเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ
ด้วยมหาปณิธานทั้ง 12 ประการนี้ เพียงเอ่ยหรือได้ยินพระนาม “พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต” หรือ “พระกริ่ง” ยิ่งได้ศรัทธา เลื่อมใส มีไว้ครอบครองบูชา จะยิ่งทำให้มีความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง นับเป็นคุณอันวิเศษยิ่งนัก เหล่านี้คือ “บารมีแห่งพระกริ่ง”
เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.