เหรียญครูบาแก่น สุมโน วัดประตูป่อง ลำปาง ปี 2518 หลวงพ่อเกษม เขมโก ปลุกเสก
มีโค็ดเหมือนกับพระกริ่งอวโลกิเตสวน ปิดตาสารพัดดี เพราะปลุกเสกสร้างในพิธีเดียวกัน. ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง เป็นพระภิกษุสายวิปัสสนา ถือธุดงค์เป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า พระป่า หรือภาษา ทางการเรียกว่า พระภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี ตอนนั้นครูบาแก่น ท่านได้ธุดงค์แสวงหาความวิเวกทั่วไป ยึดถือป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียร นอกจากมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนาแล้ว ท่านยังเก่งรอบรู้ในด้านพระธรรมวินัยอย่างแตกฉานอีกด้วย
พระภิกษุเกษม เขมโก จึงเดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้อธิบายความต้องการที่จะศึกษาในด้านวิปัสสนาให้ครูบาแก่นฟัง ครูบาแก่น สุมโน เห็นความตั้งใจจริงของภิกษุเกษม เขมโก ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ และได้นำภิกษุเกษม เขมโก ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวก และบำเพ็ญเพียรตามป่าลึกตามที่ภิกษุเกษม เขมโก ต้องการ จึงถือได้ว่า ครูบาแก่น สุมโน รูปนี้เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานรูปแรกของ พระภิกษุเจ้าเกษม เขมโก.
จัดอยู่ในชุดวัตถุมงคลของ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์
จำนวนการสร้างเงิน 109
เหรียญทองแดง 9999 เหรียญ
หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นโดยแท้จริง อันจริยาวัตรของท่านหลายอย่างยังคงเป็นคำกล่าวขวัญกันอยู่ อย่างเช่น การขบฉันของท่าน ท่านก็ฉันแต่น้อย สองสามวันท่านจะฉันเพียงมื้อเดียวโดยท่านฉันรวม คือของคาวและของหวานเทรวมกัน บางครั้งท่านยังฉันข้าวบูดอีก ท่านนั่งบริกรรมกลางแดดในฤดูร้อนจนผิวหนังไหม้ ท่านนั่งบริกรรมท่ามกลางสายฝนในหน้าฝน ท่านนั่งบริกรรมท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของภาคเหนือ ตลอด ๓ เดือนเต็ม (นั่งบริกรรมกลางแจ้งโดยไม่เข้าร่มเลย)
เคยมีผู้สอบถามหลวงพ่อถึงสาเหตุที่ท่านนั่งบริกรรมกลางแจ้ง ท่านก็ตอบว่า ” เพื่อให้รู้เหตุของทุกข์ จะได้รู้จักการหลุดพ้นทุกข์ ” และที่น่าแปลกอีกอย่างก็คือ ระยะเวลาใน ๑ ปี หลวงพ่อจะอาบน้ำเพียงครั้งเดียว และนับจากปี ๒๕๑๔ เป็นต้นมาท่านก็มิได้อาบน้ำอีกเลย แต่ท่านกลับไม่มีกลิ่นตัว ไม่มีเหงื่อ แม้ว่าท่านจะออกนั่งภาวนาตากแดดก็ตามที เท่าที่ดูแล้วหลวงพ่อท่านกลับมีผิวพรรณผ่องใส ซึ่งท่านคงต้องเป็นผู้ตอบเองว่า เพราะอะไร และเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง วัตถุมงคลที่ผ่านการอธิฐานจิตจากท่านจึงมีอานุภาพสูง แม้ว่าหลวงพ่อท่านจะละสังขารไปแล้วก็ตามที
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.