1 ใน 5 เบญจภาคีลูกอมของเมืองไทย ลูกอมผงยาดำ หลวงพ่อดิ่งวัดบางวัว
ลูกอมผงยาดำเจ็ดพญาช้างสาร หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อดิ่งท่านสร้างลูกอมจาก ไคลพระเจดีย์๗วัด ไคลพระอุโบสถ๗วัด ไคลเสมาอีก๗วัด ผสมด้วยผงอิทธิเจและผงมหาราช แล้วนำมาคลุกเคล้าปั้นเป็นลูกอมลูกเล็กๆ ขนาดประมาณ1ซม เมื่อลูกอมแห้งแล้วจะนำมาลงด้วยรักและปิดทองทุกเม็ด จากนั้นท่านหลวงพ่อดิ่ง ก็จะนำมาปลุกเสกจนมั่นใจแล้ว ท่านหลวงพ่อดิ่งจะนำลูกอมผงยาดำเจ็ดพญาช้างสาร ของท่านออกแจกในงานวัด หรือ งานบุญฉลองอายุของท่าน เป็นลูกอมที่กล่าวขานกันในตำนานของเสือขาว
ศิษย์ของท่านหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ผู้อยู่ยงคงกระพันด้วยมีลูกอมลูกอมผงยาดำเจ็ดพญาช้างสารของท่านหลวงพ่อดิ่ง ลูกอมผงยาดำนี้ มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ลูกอมเจ็ดพญาช้างสาร ด้วยกล่าวกันว่า ผู้ใดมีลูกอมนี้ไว้ติดตัว จะมีพละกำลัง ดุจพญาช้างสาร คุ้มครองป้องกันภัยต่างๆและยังอยู่ยงคงกระพันยามเมื่อมีภัยมาถึงตัวได้อย่างชะงัดนักแล
ลูกอมหลวงพ่อดิ่งมีคุณวิเศษในด้านคงกระพันชาตรีเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าสมัยก่อนคนแถบวัดได้นำมาทดลองโดยนำมาใส่ไว้ในปากปลาช่อนแล้วทดลองฟันดู ปรากฏว่าฟันไม่เข้าคมมีดเด้งออกเหมือนกับเอามีดไปฟันยางรถยนต์ยังไงยังงั้น ยิ่งเรื่องกันปืนผาหน้าไม้ด้วยแล้วนับได้ว่าไม่ธรรมดา ปัจจุบันหาของแท้ๆได้ยากมากๆใครมีติดตัวรับรองไม่ตายโหงแน่นอน
ผู้ใดมีลูกอมนี้ไว้ติดตัว จะมีพละกำลัง ดุจพญาช้างสาร คุ้มครองป้องกันภัยต่างๆและยังอยู่ยงคงกระพันยามเมื่อมีภัยมาถึงตัวได้อย่างชะงัดนักแล ลูกอมหลวงพ่อดิ่งมีคุณวิเศษในด้านคงกระพันชาตรีเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าสมัยก่อนคนแถบวัดได้นำมาทดลองโดยนำมาใส่ไว้ในปากปลาช่อนแล้วทดลองฟันดู ปรากฏว่าฟันไม่เข้าคมมีดเด้งออกเหมือนกับเอามีดไปฟันยางรถยนต์ยังไงยังงั้น ยิ่งเรื่องกันปืนผาหน้าไม้ด้วยแล้วนับได้ว่าไม่ธรรมดา ปัจจุบันหาของแท้ๆได้ยากมากๆใครมีติดตัวรับรองไม่ตายโหงแน่นอน
*** ประวัติและปฏิปทาพระครูพิบูลย์คณารักษ์ หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ วัดบางวัว (วัดอุสภาราม) บ้านบางวัว ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ….หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๐ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู จ.ศ. ๑๒๓๙ ที่บ้านบางวัว ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของ คุณพ่อเหม และคุณแม่ล้วน เหมล้วน มีพี่น้องทั้งหมดรวม ๑๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘ พอเข้าวัยการศึกษา บิดามารดาได้นำท่านไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดบางวัว ซึ่งท่านก็ได้รับการอุปถัมภ์ด้วยดี รสพระธรรมได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจของท่านอย่างลึกซึ้ง ยามว่างก็จะเข้ามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ คือ การทำนา สมัยก่อนทำนาปีละครั้ง ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงมีเวลาว่างมาก เพราะต้องรอคอยฤดูฝนจึงจะทำนากันได้ อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา ณ พัทธสีมา วัดบางวัว โดยมี พระอาจารย์ดิษฐ์ พฺรหฺมสโร วัดบางสมัคร ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “คงฺคสุวณฺโณ” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า”ผู้มีจิตชุ่มเย็นเช่นดังแม่น้ำ และแกร่งเช่นดังทองคำ”นับตั้งแต่นั้นมาท่านก็ซาบซึ้งในรสของพระธรรม และครองสมณเพศจนตลอดสิ้นอายุขัย หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดบางวัว เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๒ พรรษา หลังจากนั้นท่านก็เดินทางเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดไตรมิตรวิทยาราม (วัดสามจีน) ในสมัยที่หลวงพ่อโม ยังมีชีวิตอยู่ จากคำบันทึกที่หลวงพ่อดิ่งได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่าขณะที่มาอยู่ที่วัดไตรมิตรฯ เพียง ๑ พรรษา พระอธิการเปีย เจ้าอาวาสวัดบางวัว ก็มรณภาพลง
พระภิกษุในวัดและญาติโยมได้ประชุมปรึกษากันมีมติให้ไปนิมนต์ท่านกลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่อาจขัดศรัทธาของญาติโยมได้ จึงเดินทางมาครองวัดบางวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เรียกว่าบวชเพียง ๓ พรรษาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัว เมื่อหลวงพ่อดิ่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็เริ่มพัฒนาถาวรวัตถุต่างๆ ในวัดซึ่งขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ได้พัฒนาให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณร หลวงพ่อดิ่งได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังเสมอว่า อาจารย์ที่ฉันได้เล่าเรียนวิชามาด้วยกันจริงๆ มีอยู่ ๓ องค์ คือ (๑) หลวงพ่อดิษฐ์ พฺรหฺมสโร วัดบางสมัคร ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของฉันเอง (๒) หลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี องค์นี้ท่านเก่งมาก ขนาดปราบฝรั่งที่มันมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์จนต้องยอมสยบต่อท่าน แน่ไม่แน่ขนาดฝรั่งยิงปืนไปที่โบสถ์วัดบ้านเก่า ไม่ออกก็แล้วกัน (๓) หลวงพ่อเปอะ วัดจวนเขื่อนขันธ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ องค์นี้ท่านเก่งทางสมุนไพร แพทย์แผนโบราณ ** วัตถุมงคล ** บรรดาเหรียญพระคณาจารย์ของจังหวัดต่างๆ นั้น บางจังหวัดสนนราคาเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าค่อนข้างสูง ถ้าจะจัดลำดับความสำคัญ โดยถือเกณฑ์เฉลี่ยของเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าเป็นดัชนีในการจัดจะพบว่าในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเหรียญดัง อีกทั้งสนนราคาเหรียญค่อนข้างสูงอยู่หลายเหรียญ สำหรับที่เด่นและเป็นที่รู้จักแพร่หลายในยุทธจักรวงการเหรียญพระคณาจารย์ คือ เหรียญหลวงพ่อโสทร รุ่นปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เหรียญหลวงคง วัดซำป่างาม เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดอุสภาราม ทั้ง ๓ เหรียญพระคณาจารย์ดังกล่าว คือเหรียญยอดนิยมของจังหวัดฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อดิ่ง ท่านเป็นพระเถราจารย์ยุคอินโดจีนที่เคร่งในวัตรปฏิบัติ มีเมตตาจิต และเชี่ยวชาญแตกฉานในทุกสาขาวิชา รวมถึงพุทธาคมต่างๆ ทั้งเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา วัตถุมงคลของท่านล้วนทรงไว้ซึ่งพุทธานุภาพเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษและปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง เพราะผู้มีไว้ต่างหวงแหน คือ “ลิงไม้แกะ” ที่แกะจากรากต้นรักและรากต้นพุดซ้อนอันทรงพุทธานุภาพ และ “เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก ปี ๒๔๘๑” ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ คณะศิษย์ มรรคนายกของวัด และญาติโยมผู้เคารพเลื่อมใส ได้พร้อมใจกันจัดงานพิธีทำบุญอายุครบ ๖๑ ปี ถวายแด่หลวงพ่อดิ่งในงานพิธีนี้ท่านได้ปลุกเสกวัตถุมงคล ประเภทเหรียญแจกคณะศิษย์ มีด้วยกัน ๓ แบบ คือ เหรียญพระพุทธ รูปจำลองพระประธานอุโบสถ เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก เนื้อเงินลงยา มีจำนวนน้อย เหรียญรูปไข่ขนาดใหญ่ เนื้อทองแดง มีจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ สำหรับพระเครื่อง “เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก ปี ๒๔๘๑” ที่ท่านสร้างในโอกาสทำบุญอายุครบ ๖๑ ปี โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง และเพิ่มเนื้อพิเศษสำหรับแจกกรรมการเป็นเนื้อเงินลงยา ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก มีลักษณะเป็นเหรียญปั๊มหูเชื่อมเช่นเดียวกันนั้น เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก เนื้อทองแดง เหรียญรูปไข่ขนาดใหญ่ ด้านหน้ายกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งครึ่งรูป มีอักษรไทยกำกับโดยรอบว่า “พระครูพิบูลย์คณารักษ์ เจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง วัดอุสภาราม ฉะเชิงเทรา” ด้านหลังยกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นยันต์ ภายในบรรจุอักขระขอมว่า “มิ มะ นะ อะ อุ” ล่างสุดเป็นปี พ.ศ. ที่สร้าง คือ “พ.ศ. ๒๔๘๑” ส่วนเหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก เนื้อเงินลงยา เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก ด้านหน้ากรอบใน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งครึ่งรูป ด้านบนเป็นปี พ.ศ. ที่สร้าง คือ “๒๔๘๑” กรอบนอก เป็นอักษรไทยจารึกว่า “ทำบุญที่ระลึกอายุ ๖๑ ปี พระครูพิบูลย์คณารักษ์” ด้านหลังพื้นเรียบ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ หลวงพ่อดิ่งทำพิธีปลุกเสก ลิงจับหลัก หรือ หนุมานแกะ ซึ่งการทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในครั้งนั้นจัดพิธีใหญ่มาก มีการทำพิธีตัดไม้ข่มนาม มีการเอาหนังเสือมาปูทับอาวุธนานาชนิด แล้วหลวงพ่อดิ่งก็ขึ้นไปนั่งปลุกเสกบนหนังเสือ ปลุกเสกจนสว่าง โดยที่หลวงพ่อดิ่งไม่ลุกขึ้นไปไหนเลยขณะที่ปลุกเสกลิงจับหลัก การบูชาให้ถูกต้องตามตำราของหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จะต้องตั้งนะโม ๓ จบก่อน แล้วค่อยว่าพระคาถาหนุมาน ดังนี้ หนุมานะ นะ มะ พะ ทะ ตามกำลังวัน เช่น วันเสาร์ ๑๐ วันอาทิตย์ ๖ วันจันทร์ ๑๕ วันอังคาร ๘ เป็นต้น ถ้าเข้าหาผู้ใหญ่ ให้นำลิงจับหลักจุ่มน้ำมันจันทน์แล้วเจิมที่หน้าผาก สำหรับคุณวิเศษของลิงจับหลัก หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว นั้นเป็นที่รู้กันว่าดี ทั้งทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม …..หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในวันธรรมสวนะ ขณะที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมสวดปาฏิโมกข์ตรงกับวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ สิริอายุรวมได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๔ เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณ
เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.