พระกริ่งสมเด็จย่า 90 พรรษา เนื้อนวะโลหะเต็มสูตร หรืออีกชื่อ พระกริ่ง. สว. ปี2533 วัดพระแก้ว เชียงราย เทฤกษ์ดีเด่นทางการเงิน และอำนาจวาสนาสูงส่ง จะก้าวสู่จุดสูงสุดของหน่วยงาน พร้อมการเงินที่ดี
ศิษย์ อ.เทพย์ สาริกบุตรลงยันต์ 108 นะ 14 อีกทั้งหาฤกษ์ยามทั้ง 3 ขั้นตอน
สิ่งที่ทำให้พระกริ่งพระพนรัตน์ของอาจารย์เทพย์แพง คือฤกษ์การเงินและอำนาจวาสนาสูงส่ง พระกริ่งพระพนรัตน์ เทในฤกษ์การเงินที่ดี ผู้สวมใส่ จะก้าวสู่จุดสูงสุดของหน่วยงาน พร้อมการเงินที่ดี
แต่มีอีก1 รุ่น ฤกษ์ที่วางเทียบได้ อีกรุ่นคือ. พระกริ่ง. สว. 33. หรือ พระกริ่งสมเด็จย่า ปี 2533
เป็นกริ่งสายวัดสุทัศน์โดยแท้ ทั้ง อ.นิรันดร์ แดงวิจิตร ศิษย์พระสังฆราช(แพ) และท่านอดีตพระแอ้ดศิษย์ อ.เทพย์ สาริกบุตร ผู้ได้สืบทอดวิชายันต์ 108 นะ 14 อีกทั้งหาฤกษ์ยามทั้ง 3 ขั้นตอน เป็นการสร้างพระกริ่งที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบตามตำราครั้งหนึ่งใน
พระกริ่งสมเด็จย่า 90 พรรษา ปี2533 สภาพสวยมากๆ พิธีใหญ่ ในหลวงร่วมพิธี
เป็นการสร้างพระกริ่งที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบตามตำราครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จย่า ท่านทรงพระชนมายุครบ 90 พรรษา ทางสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกในวาระงานฉลองพระชนมายุของพระองค์ โดยได้กราบเรียนเชิญ ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ ภริยาท่านนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานสร้างและมีมติให้จัดสร้างพระกริ่ง สมเด็จย่า 90 พรรษาขึ้น โดยได้เชิญ ท่านนิรันดร์ แดงวิจิตร ศิษย์ผู้ใกล้ชิดในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร)
ท่านเคยเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดในการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) หลายครั้ง มาร่วมงานการสร้างพระกริ่งในครั้งนี้โดยกำหนดขั้นตอนไว้ 3 ขั้นตอน
1.ขั้นตอนการลงทองเพื่อใช้ในการหลอมหล่อองค์พระในครั้งนี้ ได้เรียนเชิญพระอาจารย์อรรถพล กิตฺติโก ได้นำโลหะทั้ง 9 ชนิดหล่อหลอมจนเข้ากันดี นำมาลงเลขยันต์ตามตำราที่บังคับ 108 ดวง จากนั้นก็จะลงนะอักขระวิเศษอีก 14 นะ เมื่อจบขั้นตอนแล้วจึงลงพระยันต์อักขระ จากนั้นตัดแผ่นโลหะ 122 แผ่น และจัดเครื่องบวงสรวงบูชาครูแบบที่สมบูรณ์ที่สุด ในระหว่างลงทุกวันพฤหัสบดีก็จะทำพิธีบวงสรวงบูชาครูตลอดทุกวันพฤหัสบดีจนแล้วเสร็จพิธีกรรม จากนั้นก็ทำพิธีชัยมงคลด้วยการนิมนต์พระพิธีกรรม 4 รูปเจริญคาถาภาณวาร พระคณาจารย์จำนวน 32 รูปผลัดเปลี่ยนกันบริกรรมปลุกเสกกว่าจะเสร็จพิธีก็รุ่งแจ้งเป็นการ
สำเร็จขั้นตอนที่หนึ่ง
2.ขั้นตอนต่อมาก็คือการเททองหล่อองค์ พระกริ่ง ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนฯ ในพิธีกรรมนี้ได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงเป็นผู้จุดเทียนชัยและทรงเป็นองค์ประธานการเจริญพระพุทธมนต์ร่วมกับสมเด็จพระราชาคณะและพระราชคณะผู้ใหญ่ 10 รูป ภายหลังจากการประกอบพิธีกรรมจุดเทียนชัยและเจริญพระพุทธมนต์แล้วทรงเมตตาประทับนั่งบริกรรมเป็นองค์ปฐม เมื่อได้ฤกษ์เททองทรงเททองพระกริ่ง สิ่งสำคัญในพิธีครั้งนี้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศได้ส่งแผ่นทองแดงมาร่วมเป็นจำนวนหลายพันแผ่น แต่ละแผ่นลงพระยันต์ โดยพระคณาจารย์รวมเป็นจำนวนนับพันรูปและทองคำที่นำมาเททองเป็นองค์พระ หนักรวมถึง 287 กิโลกรัม การประกอบพิธีกรรมนั้นกระทำกันตั้งแต่ 17.00 น. ถึง รุ่งเช้าวันใหม่ โดยพระพิธีกรรมที่มาเจริญพระพุทธมนต์นั้นรวม 3 ชุด ชุดละ 4 รูป ผลัดเปลี่ยนเวียนกันสวดตลอดคืน ส่วนพระคณาจารย์เจ้า จากวัดต่างๆ รวม 56 รูป เมื่อพิธีกรรมสงฆ์สมบูรณ์แล้ว พราหมณ์ ประกอบพิธีกรรมเป็นแว่นเวียนเทียนพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาตลอดจนเสร็จพิธี จึงบอกกล่าวได้ว่าการประกอบพิธีกรรมครั้งนี้ถือว่าเป็น “เอก” สมบูรณ์สุดพิธีหนึ่งในยุค
3.เมื่อสำเร็จสมบูรณ์ครบขั้นตอนแล้ว คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงประกอบพิธีกรรมพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกครั้งหนึ่ง โดยกำหนดฤกษ์ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2533 ซึ่งทรงมีพระเมตตาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ พระกริ่งที่หล่อในครั้งนี้เป็นการหล่อแบบพิธีกรรมโบราณ หล่อระบบดินไทยเปิดใต้ฐานเพื่อบรรจุผงพุทธคุณ 108 แล้วจึงปิดฐานด้วยโลหะชนิดเดียวกัน
เนื้อทองคำจัดสร้าง 1999 ชุด
นวโลหะเต็มสูตร จัดสร้าง 2999 ชุด
รุ่นนี้หลังหักค่าใช้จ่าย ทูลเกล้าถวายได้ถึง 70 ล้านบาท ใช้ทองคำทั้งสิ้น 287 กิโลกรัม ทำให้พระกริ่งรุ่นนี้มีส่วนผสมทองคำที่จัดมาก ถือได้ว่าเป็นชุดพระกริ่งที่ใช้ทองคำมากมายจริงๆ
มวลสารที่ใช้ในการสร้าง
– นวโลหะเดิมที่ได้จากสมเด็จสังฆราช(แพ), พระครูขันติยาภิราม (หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส) และของพระอาจารย์อรรถพล กิตติโก วัดปริวาส รวมเป็นน้ำหนัก 90 กิโลกรัม
– แผ่นพระยันต์จากพระคณาจารย์ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 799 รูป เมตตาลงอักขระแผ่นทองแดงให้รวมทั้งสิ้นถึง 5,999 แผ่น น้ำหนักแผ่นทองแดง 52 กิโลกรัม
– แผ่นทองคำ ได้มีพิธีลงทองโดยพระอาจารย์อรรถพล กิตติโก ในพิธีลงทองและพุทธาภิเษกแผ่นพระยันต์ที่วัดปริวาส เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2533 โดยลงแผ่นพระยันต์ 108 นะปะถะมัง 14 ดวงพระประสูติและตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
– เนื้อโลหะทองคำส่วนหนึ่งจากทองคำบางสะพาน ซึ่งถือเป็นโลหะธาตุทองคำศักดิ์สิทธิ์ใช้ในการสร้างสิ่งมงคลแต่โบราณ 1,998.7 กรัม กรมทรัพยากรธรณีประสานจัดหา
– ทองแดงเถื่อนและทองแดงจันทึก จังหวัดนครราชสีมา 6.5 กิโลกรัม กรมทรัพยากรธรณีประสานจัดหา
– เนื้อโลหะชนวนในการสร้างพระพุทธรูป ภปร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เททองเมื่อ ปี2508 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
– ชนวนในการสร้างพระชัยวัฒน์ พระกริ่งปวเรศร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เททองเมื่อ ปี2528 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
– ชนวนเททองหล่อหลวงพ่อเงิน บางคลานพิจิตร ซึ่งนายประเสริฐ นรัตถรักษา คหบดีจังหวัดพิจิตรมอบให้
– ชนวนเททองหล่อสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งนายทวีป ทวีพาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองมอบให้
– พิธีลงทองและพุทธาภิเษกแผ่นพระยันต์ ประกอบพิธีวันที่ 19 มิถุนายน 2533 ณ อุโบสถวัดปริวาส โดยพระญาณโพธิ(เข็ม) ลงทองแผ่นยันต์108 นะปะถะมัง14นะ ดวงประสูติและตรัสรู้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พิธีเททองและพุทธาภิเษก ประกอบพิธีวันที่ 18 สิงหาคม 2533 ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานและทรงนั่งปรกพร้อมพระคณาจารย์อื่นๆ ผู้ทรงคุณวุฒินั่งปรกบริกรรมภาวนารวม 28 รูป จำนวนเท่ากับพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ตั้งแต่เวลา 6.00 น.ของวันประกอบพิธีจนถึง 6.09 น.ของวันรุ่งขึ้น และก่อนหน้าพิธีได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายแผ่นพระยันต์ตลอดจนทรงเจิมแผ่นทองคำ
พิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2533
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.