พระชัยวัฒน์ปวเรศ ปี 2530 หรือ พระชัยวัฒน์ปวเรศ2 เนื้อนวะโลหะเต็มสูตร พร้อมบัตรรับประกันการันตีพระ
พระกริ่งปวเรศ ๓๐ ซึ่งเป็นคำเรียกสั้นๆ ง่ายๆ ของ พระกริ่งปวเรศ รุ่น ๒ ที่จัดสร้างขึ้นโดย วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี ๒๕๓๐ ชั่วโมงนี้ มีการเช่าหาบูชาพระกริ่งรุ่นนี้กันอย่างกว้างขวาง มีวงเงินหมุนเวียนหลายสิบล้านบาทเลยทีเดียว ส่วนหนึ่งของกระแสความศรัทธาเลื่อมใสใน พระกริ่งปวเรศ ๓๐ มาจากพิธีเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ พสกนิกรชาวไทยต่างพากันสะสมของที่ระลึกทุกอย่างอันเกี่ยวเนื่องกับพระองค์ รวมทั้ง พระกริ่งปวเรศ ๓๐ รุ่นนี้ด้วย เพราะเป็นพระกริ่งที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ (๖๐ พรรษา) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
นอกจากนี้ ล้นเกล้าฯ ยังได้เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อปฐมมหามงคลฤกษ์ ณ บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๘ จึงนับได้ว่า พระกริ่งปวเรศ 30 รุ่นนี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยตรง
พระกริ่งปวเรศ ที่ทรงประกอบพิธีเททองหล่อในวันนั้น มีจำนวน ๑๐ ช่อ ใน ๑ ช่อมีพระกริ่ง ๒๑ องค์ นอกจากนี้ยังมี พระชัยวัฒน์ปวเรศ อีก ๑๐ ช่อ ใน ๑ ช่อมีพระชัยวัฒน์ ๓๑ องค์ หลังจากนั้น ทางวัดนำก้านชนวนของพระกริ่งและ พระชัยวัฒน์ ทั้ง ๒๐ ช่อนี้ไปเป็น ชนวน หล่อหลอมกับเนื้อนวโลหะมงคลอีกจำนวนมาก เพื่อใช้ในการเททองหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ต่อไป จนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ คือ ๒๕,๓๐๐ ชุด ประกอบด้วย พระกริ่ง ๒๕,๓๐๐ องค์ พระชัยวัฒน์ ๒๕,๓๐๐ องค์ (และมีเผื่อเสียอีกจำนวนหนึ่ง)
พระกริ่งพระชัยวัฒน์ที่หล่อในเวลาต่อมานั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็นผู้ประกอบพิธีเททองหล่อติดต่อกันถึง ๙ วัน คือตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์-๗ มีนาคม ๒๕๒๙ โดยมี พระอมรโมลี (เจ้าคุณอมรฯ สมณศักดิ์ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ พระพรหมมุนี) เป็นผู้ควบคุมดูแลการหล่อพระ อาจารย์กิจจา วาจาสัจ เป็นผู้ดำเนินงาน และ ช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานหล่อพระทั้งหมด
พระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นนี้เป็นการเททองหล่อแบบดินไทย ซึ่งเป็นกรรมวิธีแบบโบราณ จึงมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก และเสียเวลากว่าการสร้างพระกริ่งสมัยใหม่ ที่สร้างด้วยวิธีฉีดเนื้อโลหะเหลวใส่แม่พิมพ์ ซึ่งต้องทำกันที่โรงงาน พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ที่สร้างด้วยวิธีหล่อแบบโบราณ จะได้องค์พระที่ไม่สวยคมชัดไปทั่วทั้งหมด ผิวพระบางองค์จะมีรูพรุนมากบ้างน้อยบ้าง จึงต้องมีการตกแต่งด้วยตะไบ ซึ่งทางวัดได้กำหนดให้คณะช่างที่ตกแต่งองค์พระ รวมทั้งการบรรจุ เส้นพระเจ้า ผงจิตรลดา ที่ได้รับพระราชทาน และ เม็ดกริ่ง ภายในวัดทั้งหมด โดยได้จัดห้องทำงานไว้ต่างหาก ห้ามไม่ให้ช่างนำองค์พระกลับไปตกแต่งที่บ้านโดยเด็ดขาด และเมื่อมีการเข้าออกห้องทำงาน จะมีการตรวจตราเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่องานตกแต่งองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางวัดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศขึ้นถึง ๓ ครั้งด้วยกัน คือ
ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต มีพระคณาจารย์หลายท่านร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
ครั้งที่ ๒ พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธที่ ๒๑ และวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานในพิธี
ครั้งที่ ๓ พิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯ ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต ร่วมกับพระภาวนาจารย์อีก ๓๖ รูป จากภาคต่างๆ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
เมื่อเสร็จพิธีทั้งหมดแล้ว ทางวัดได้นำพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ออกให้ศรัทธาสาธุชนทำบุญเช่าบูชาเป็นการกุศล ชุดละ ๕,๐๐๐ บาท ใน ๑ ชุดจะมีพระกริ่ง ๑ องค์ และพระชัยวัฒน์ ๑ องค์
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศปี ๒๕๓๐ หลังจากทราบพระบรมราชวินิจฉัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชกระ แสรับสั่งว่า “พระกริ่งปวเรศที่จำลองขึ้นมาในครั้งนี้ ขอให้ทำให้แม้นแต่อย่าให้เหมือน” ที่ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้อัญเชิญมาแล้ว อาจารย์กิจจา พร้อมคณะกรรมการฯ จึงรับด้วยเกล้าฯ ด้วยการนำ “องค์ต้นแบบ” มาแก้ไขและตกแต่งรายละเอียดให้ “แตกต่างจากองค์ดั้งเดิม” โดยเฉพาะบริเวณ “พระพักตร์และข้อพระบาทขวา” ที่มีขนาด “เล็กกว่าองค์ดั้งเดิม” อยู่แล้วเนื่องจากการนำพิมพ์ต้นแบบไป “ถอดพิมพ์ด้วยยาง” ขนาดจึงเล็กลงไปตามแบบอย่างของการ “ถอดพิมพ์ทั่ว ๆ ไป” โดยการแก้ไขและตกแต่งใหม่สำเร็จบริบูรณ์ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ นับเป็นการดำเนินการที่รวดเร็วแต่ประณีตทางด้าน “พระชัยวัฒน์” นั้น อาจารย์กิจจา ได้มอบหมายให้ปฏิมากรรม มนตรี (นายช่างมาลี) พัฒนางกูร แห่ง “พัฒนช่าง” ผู้เคยฝากฝีมืออันเลื่องลือในด้านปั้นพิมพ์พระได้อย่างสวยงามมามากมายหลาย รุ่นแล้ว (ดังได้กล่าวมาแล้วเมื่อครั้งที่นำเสนอเรื่องของพระกริ่ง 7 รอบ) และ นายช่างมนตรี ก็มิได้ทิ้งฝีมือเชิงช่างผู้ชำนาญเลยได้ทำการ “ขึ้นต้นแบบ” จากภาพถ่ายของ “พระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิม” และสามารถย่อส่วนพระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิมให้มี “ขนาดเล็ก” ที่หน้าตักกว้างเพียง ๑ ซม. พร้อมถ่ายทอดรายละเอียดจากองค์จริงได้ครบถ้วนเช่นกัน
เมื่อทำการ “ถอดแบบพิมพ์” เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการ “เข้าหุ่นเทียนด้วยดินไทย” ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลโดย อาจารย์กิจจา ก็มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะเช่นกันดังนั้นการทำงานจึงใช้ “บริเวณบ้าน” ของ อาจารย์กิจจา ที่ เจริญพาศน์ เริ่มตั้งแต่การฉีดขี้ผึ้งเข้าแม่พิมพ์ยางทั้ง “พระกริ่งและพระชัยวัฒน์” แล้วนำหุ่นขี้ผึ้งมาคัด “คุณภาพ” หากไม่สวยงามก็นำไปฉีดใหม่แล้วทำการตกแต่งเอา “ฉลาบตามตะเข็บพิมพ์ออก” ก่อนติดหุ่นเทียนเข้ากับก้านชนวนที่เป็นเทียนหรือขี้ผึ้ง เสร็จแล้วนำ “มูลโคมานวดผสมกับดินนวล” แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อสำหรับ “ทาหุ่นเทียน” ลองคิดดูก็แล้วกันว่าพระจำนวนมากถึง ๖๐,๐๐๐ กว่าองค์ (รวมเผื่อเสีย) กลิ่นมูลโคจะส่งกลิ่นเพียงใดดังนั้นงานระดับนี้จะทำกันแค่คนสองคนย่อมไม่ ทันการ จึงต้องว่าจ้างคนงานนับร้อยคนมาช่วยกันทำงานเพื่อให้เสร็จทันกำหนดโดย อาจารย์กิจจา เล่าเหตุการณ์ในตอนนั้นในเชิงตลกว่า “สรรพากรเขต” และ “แรงงานเขต” ต้องแวะมาเยี่ยมเยือนถึงที่บ้านเจริญพาศน์ในชุด “เครื่องแบบเต็มยศ” กันเลยแต่พอทราบความจริงว่าคนงานเหล่านี้มาช่วยกันทำงาน “เพื่อสิ่งใดแล้ว” บรรดาข้าราชการผู้รักหน้าที่ดังกล่าวก็เข้าใจเพราะขั้นตอนการทำงานช่วงนี้ ต้องให้ “ความสำคัญ” ไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนการประกอบพิธี “เททองหล่อพระ” เช่นกันคือนับตั้งแต่การหา “ดินนวลมาผสมมูลโค” ก็ต้องใช้ทั้ง “ดินละเอียดและดินหยาบ” พร้อมการ “ปั้นปากจอกผูกลวด ฯลฯ” โดยขั้นตอนเรื่องนี้ “ผู้เขียน” เคยไปขอเรียนเพื่อเป็นความรู้จากท่านอาจารย์มาก่อน จึงพอจะเข้าใจขั้นตอนการทำงานว่า “ยากลำบากเอาการ” ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนจึงจะทำให้การ “เททองหล่อแบบโบราณ” สำเร็จลุล่วงด้วยดี
สำหรับ “ช่างหล่อพระ” ก็เช่นกันท่านอาจารย์กิจจามีหน้าที่รับผิดชอบในการหาช่างที่มีความเชี่ยวชาญ แม้ว่าช่วงนั้นในยุทธจักรช่างหล่อพระจะมีช่างอยู่หลายสำนัก แต่สำหรับงานใหญ่ระดับชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งของปวงชนชาวไทยท่านอาจารย์กิจจาจึงได้กำหนด “คุณสมบัติของช่าง” ที่จะมาร่วมประกอบพิธีเททองในโอกาสพิเศษดังนี้ ๑.ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต (เป็นประการสำคัญที่สุด) ๒.มีผลงานในอดีตเป็นที่ยอมรับ ๓.มีความเข้าใจในพิธีกรรมและขั้นตอนการเททองหล่อพระ ๔.มีใจรักงานศิลปะและมีความขยันขันแข็งและอดทน
ท่านอาจารย์กิจจา ได้นำรายชื่อช่างหล่อแต่ละสำนักเสนอต่อที่ประชุมโดยใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้น ซึ่งคณะกรรมการได้ใช้ระยะเวลาพอสมควรในการ “คัดเลือกช่าง” ที่จะมา “ทำงานใหญ่และสำคัญ” นี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งโดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ในฐานะองค์ประธานคณะกรรมการได้ทรงคัดเลือกทีมงานช่างที่ดำเนินการหล่อ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ภ.ป.ร. ๕๐ ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๗” ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงเป็นที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตในการจัดสร้าง “วัตถุมงคล ภ.ป.ร” ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนา “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบ ๕๐ ปี” เนื่องจากทรงเคยเห็นผลงานของช่างกลุ่มนี้มาก่อนแล้วว่าฝีมือเป็นที่เชื่อ ถือได้เพราะนำทีมโดย นายช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์-นายช่างถนอม ทองอินทร์-นายช่างเรืองศักดิ์ โดยได้เรียกช่างกลุ่มนี้มาชี้แจงทำความเข้าใจและลงมือสัญญารับงานตั้งแต่ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ และท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงให้ อาจารย์กิจจา ช่วยควบคุมดูแลอย่าให้มีขั้นตอนรั่วไหลเรื่องนี้ อาจารย์กิจจา ยอมรับว่าหนักใจไม่น้อยเลยแต่ก็เต็มใจปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย แม้จะเป็นงานบุญงานกุศลที่หนักที่สุดในชีวิตแต่เมื่องานสำเร็จลุล่วงแล้ว อาจารย์กิจจาฯ ก็อดที่จะภาคภูมิใจไม่ได้เพราะงานครั้งนั้นถือเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อยที่ สุดในชีวิตการหล่อพระ
พระกริ่งปวเรศ ปี 30 ดังได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการ “เข้าหุ่นดินไทย” สำหรับการเทหล่อ “พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศปี ๒๕๓๐ เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบนักษัตรฯ” ครั้งนั้นต้องใช้สถานที่บ้านของ อาจารย์กิจจา ที่ เจริญพาศน์ธนบุรี เพื่อสะดวกในการควบคุมดูแลเนื่องจากจำนวนการสร้าง “พระกริ่งพระชัยวัฒน์ฯ” ครั้งนี้มีจำนวนมากคือ “พระกริ่งปวเรศฯ” และ “พระชัยวัฒน์ปวเรศฯ” จำนวนเท่ากันคืออย่างละ “๒๕,๐๐๐ องค์” แต่การหล่อพระด้วยพิธีแบบ โบราณนั้นก็จะต้องมีการ “เผื่อชำรุด” จึงเทหล่อเพิ่มอย่างละ “๕,๐๐๐ องค์” ข่าวพระเครื่อง
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
“เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”
โทร : 063-969-5995
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.