พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น

พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น


/ หน้าพรานใหญ่ เนื้อชนวน หน้าแดง
/ วาระแรก พ่อแก่เจ้าแสงอธิษฐานจิต
/ วาระ๒ พ่อท่านแก้วอธิษฐานจิต

พรานบุญ เจ้าแห่งอาคมขลัง และอารมณ์ขัน
เมื่อทำการสำรวจข้อมูลของดีของทางภาคใต้ ประเทศไทย จะพบว่าถ้าเป็นของดีกลุ่มที่เป็นจำพวกเครื่องรางของขลังที่มีพลานุภาพด้านเมตตามหานิยมหรือเรียกทรัพย์ ชื่อของ “ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” จะคุ้นหูชาวมูสมัยนี้เป็นที่สุด และถ้าเป็นคนในพื้นที่จะทราบว่า “(หน้ากาก) พรานบุญที่วัดยางใหญ่” ก็เป็นของดีที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน ทั้งยังเป็นของที่มีในจังหวัดนครศรีธรรมราชเหมือนกันด้วย เรียกว่าบูชาไอ้ไข่แล้วไปบูชาพรานบุญต่อก็จะได้อานิสงส์เมตตาแก่กล้าขึ้นไปอีก

พรานบุญ” ในที่นี้จะอยู่ในรูปของหน้ากาก เป็นหน้ากากทำด้วยไม้ รูปใบหน้าชายสูงวัย มีจมูกงุ้มยื่นยาว ใช้ขนเป็ดสีขาวเอามาติดที่ศีรษะให้ดูเป็นผมหงอก ใต้คางส่วนที่น่าจะเป็นเคราตกแต่งด้วยผ้าสีขาวร้อยด้วยสร้อยลูกปัดยาวหลากสี พื้นผิวใบหน้าสีแดงสด คิ้ว ลูกตา และหนวดสีดำ ผมสีขาว ฟันบนเลี่ยมทองที่ 2 ซี่กลาง

หน้ากากพรานบุญ จัดแสดงที่นิทรรศการ “หน้ากากมนุษย์” ชั้น 2 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

บทบาทของพรานบุญ

สำหรับเด็กไทยที่เคยเรียนวรรณคดีมาจะรู้จัก “พรานบุญ” ว่าเป็นนายพรานในวรรณคดีเรื่อง พระสุธน-มโนห์รา นิทานพื้นบ้านที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากชาดกเรื่อง สุธนชาดก ชาดกย่อยเรื่องหนึ่งใน ปัญญาสชาดก

พรานบุญ ซึ่งในเรื่องจะชื่อ พรานบุณฑริก ชาวเมืองปัญจาลนคร ได้เข้าไปล่าสัตว์ในป่าลึก พบกลุ่มนางกินนรสวยงามเป็นพี่น้องกันเจ็ดตนมาลงเล่นน้ำที่สระอโนดาต นายพรานแอบเก็บปีกและหางของนางกินนรไว้หนึ่งชุด เมื่อนางกินนรทั้งเจ็ดเล่นน้ำเสร็จก็กลับขึ้นมาใส่ปีกใส่หาง นางมโนห์ราน้องสาวคนสุดท้องหาปีกและหางของตนไม่พบจึงไม่สามารถบินกลับได้ พี่ ๆ ทั้งหกก็จำต้องทิ้งนางไป เมื่อเห็นนางกินนรเหลืออยู่ตนเดียวดังนั้น พรานบุณฑริกจึงนำบ่วงนาคบาศมาคล้องนางไว้แล้วนำไปถวายพระสุธน พระสุธนยินดีมากจึงประทานทองคำและแก้วแหวนเงินทองให้แก่นายพราน พระเจ้าอาทิตยวงศ์ กษัตริย์แห่งเมืองปัญจาลนคร และนางจันทราเทวี พระมเหสี ก็ได้จัดงานอภิเษกสมรสให้พระสุธนกับนางมโนห์รา … เนื้อเรื่องยังมีต่อจากนี้ แต่ผู้เขียนขอตัดมาเฉพาะตอนที่มีบทของพรานบุญ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร (เนื้อเรื่องฉบับเต็มสามารถอ่านได้ที่ พระสุทนต์ – มโนรา เล่มที่ 2 ฐานข้อมูลหนังสือเก่าชาวสยาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)1)

บทบาทของพรานบุญยังมีการกล่าวถึงในอีกหลาย ๆ สำนวน อย่างในบทละครครั้งกรุงเก่าเรื่องนางมโนราห์ ซึ่งเป็นวรรณคดีประกอบการแสดงละครนอกสมัยอยุธยาแต่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ หอสมุดวชิรญาณได้ตรวจสอบชำระต้นฉบับดังกล่าวที่มีอยู่เพียง 1 ตอน คือ ตอนนางมโนราห์ถูกจับไปถวายพระสุธน และจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2462 บทละครเรื่องนี้แต่งเป็นกลอนบทละคร คือ ตอนนางมโนราห์ถูกจับไปถวายพระสุธน บางตอนมีลักษณะเป็นกาพย์ตามรูปแบบการแสดง “โนราห์” ของภาคใต้ ในฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ที่เผยแพร่โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้บรรยายเนื้อเรื่องไว้โดยสังเขป ดังนี้

“เนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่นางเทพกินรี มเหสีท้าวทุมพร เจ้าเมืองกินรา พระมารดาของนางมโนราห์ฝันและโหรทำนายฝันว่านางมโนราห์ พระธิดาองค์ที่ 7 ซึ่งเป็นองค์สุดท้องกำลังเคราะห์ร้าย ห้ามไปเล่นน้ำที่สระ นางมโนราห์ไม่เชื่อฟัง นางเทพกินรีจึงยึดปีกหางมาเก็บไว้ แต่นางมโนราห์กับพี่ ๆ ก็ขโมยปีกหางมาได้ และพากันไปเล่นน้ำในสระ แม้นางมโนราห์จะระแวงภัยในตอนแรก แต่ในที่สุดก็ยอมถอดปีกถอดหาง ลงเล่นน้ำตามคำชวนของพี่ ๆ ฝ่ายพรานบุญซึ่งมาคอยซุ่มดูอยู่ ก็ใช้บ่วงนาคบาศโยนลงไปเป็นงูรัดเท้านางมโนราห์ไว้ พี่ ๆ ทั้ง 6 นางไม่สามารถช่วยได้ จึงสวมปีกหางบินหนีกลับเมืองไปทูลเรื่องราวแก่พระบิดาและพระมารดา นางมโนราห์พยายามอ้อนวอนและหลอกล่อพรานบุญให้คืนปีกหางของนางแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อจากนั้นพรานบุญก็พานางไปถวายพระสุธน ระหว่างทางนางสำนึกถึงความผิดที่ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนของพระมารดา ต้นฉบับจบเพียงเท่านี้”2

อีกตำนานที่เกี่ยวข้องกับพรานบุญจะว่าด้วยเรื่องราวก่อนไปคล้องนางกินนร คือตอนที่พรานบุญได้ไปขอหยิบยืมบ่วง “นาคบาศ” จากพญานาคราชนามว่า ท้าวชมพูจิต ซึ่งเดิมเป็นศรของอินทรชิตที่ยิงไปกลายเป็นงูรัด พญานาคราชก็ให้มาแต่โดยดี แม้ว่ากลัวจะให้ไปแล้วจะไม่ได้คืน แต่เพราะได้ให้คำมั่นสัญญาเอาไว้เมื่อครั้งได้รับความช่วยเหลือจากพรานบุญจนรอดพ้นจากความตายว่า “ขออะไรก็จะให้” บ่วงอันนี้เองที่ใช้คล้องนางมโนราห์มาได้ ผู้คนจึงต่างนับถือในความสามารถของพรานบุญว่ามีอาคมขลังและโดดเด่นในทางโชคลาภและโภคทรัพย์ยิ่งนัก ครั้งหนึ่งพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี ได้กล่าวกับลูกศิษย์ว่า

“ไม่มีการค้าใดหรือทำสิ่งได้จะได้ผลตอบแทนมากเท่าพรานบุญ เพราะพรานบุญจับนางมโนราห์ได้เพียงนางเดียว เช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้รับบำเหน็จจากกษัตริย์ ครองเมือง 1 เมืองพร้อมทรัพย์สมบัติและบริวารมากมาย”

ด้วยเหตุนี้ ในเรื่องของความเชื่อ ผู้คนต่างให้ความเคารพนับถือพรานบุญ เชื่อว่าเมื่อบูชาแล้วจะได้รับอานิสงส์ เช่น ค้าขายดี มีเสน่ห์ต่อคนรอบข้าง มีเมตตามหานิยม ใครเห็นก็รักใคร่เอ็นดู อีกทั้งยังช่วยปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตรายและอาถรรพ์คุณไสยต่าง ๆ อีกด้วย

พรานบุญในวงมโนราห์

มโนราห์ หรือ โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ โนรามีการแสดง 2 รูปแบบ คือ โนราประกอบพิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง ซึ่งมีความแตกต่างกัน

โนราประกอบพิธีกรรมหรือโนราโรงครู เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญในวงการโนราเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายังโรงพิธี เพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายของโนรา เพื่อรับของแก้บน และเพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่ ส่วนโนราเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงเพื่อให้ความบันเทิงโดยตรง ประกอบด้วยการรำ การร้อง การทำบท การรำเฉพาะอย่าง และการเล่นเป็นเรื่อง

ส่วนของการแสดงโนราที่เป็นงานบันเทิงทั่ว ๆ ไป ในแต่ละครั้ง แต่ละคณะจะมีลำดับการแสดงตามขนบนิยม โดยเริ่มจาก (1) ปล่อยตัวนางรำออกรำ (2) ออกพราน หรือ ออกตัวตลก (3) ออกตัวนายโรง (4) ออกพรานอีกครั้ง เพื่อบอกว่าต่อไปจะเล่นเป็นเรื่อง และจะเล่นเรื่องอะไร จากนั้นจึงเล่นเป็นเรื่อง

จะเห็นว่ามีการออกพรานถึง 2 ครั้ง เพราะพรานเป็นตัวตลก เมื่อออกมาแล้วคนดูจะหัวเราะ เป็นที่รักของคนดูทุกเพศทุกวัย มีความสำคัญในการสร้างบรรยากาศให้ครึกครื้นซึ่งจะขาดเสียมิได้ ทั้งยังทำหน้าที่นำผู้ชมสู่ฉากการแสดงและประกาศให้รู้ถึงตอนต่อไป

ในดินแดนภาคใต้ของไทยนั้น การแสดงมโนราห์หรือที่นิยมเรียกกันว่า โนรา ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่สำคัญ เป็นดั่งชีวิตจิตใจและจิตวิญญาณของชาวใต้ เป็นศิลปะด้านนาฏยศาสตร์ที่จำเป็นต้องมีครูถ่ายทอดสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น พรานบุญก็นับเป็นครูโนราที่สำคัญผู้หนึ่ง เพราะเป็นตัวตลกในเรื่องมโนราห์ เมื่อออกรำจะต้องสวมหน้ากากพราน ท่ารำของพรานนั้นจะเป็นท่ารำที่ตลก ไม่มีท่ารำที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความสามารถของพรานแต่ละคน และจะต้องมีท่ารำพื้นฐาน เช่น ย่อตัวรำ หลังแอ่น ยื่นอกไปด้านหน้ามาก ๆ ทั้งยังท่ามีแปลก ๆ ออกไป เช่น ทำให้ท้องป่องผิดปกติ อาจจะป่องไปด้านซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หรือทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเคลื่อนไหวเป็นลอนคลื่น เป็นต้น ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะแสดงได้ เมื่อออกมาแสดงก็จะเรียกเสียงหัวเราะอย่างมีความสุขจากผู้ชมได้เสมอทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ และไม่ว่าจะแสดงกี่ครั้งก็ตาม

การบูชาหน้ากากพรานบุญ

สำหรับใครที่ต้องการจะบนบานกับพรานบุญ สิ่งที่จะบนก็มีเพียงแค่ ผ้าขาวม้า 1 ผืน กับเหล้าขาว 1 ขวด ก่อนใช้หน้ากากมโนราห์ให้อาราธนาด้วยคาถา 3 บทนี้

บท 1 คาถาบูชาพรานบุญ

นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

นะ ชา ลี ติ ออ อา ออ แอ รึก รือ ลึก ลือ ชัยยะ ชัยยะ สิริโภคานะมาสะโย

บท 2 เทวดาให้เงิน

โอม นะมา มีมา นะ เน นุ นิ นะ สวาหะ สวาโหม

บท 3 คาถาเมตตา

ออ อา สะเน่หามนุสสะจิตติ ออ อา สะเน่หามนุสสะจิตตัง ออ อา มูลละพะลัง ออ อาพุทธานะมามิหัง

Loading

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น”

Your email address will not be published. Required fields are marked *