เหรียญหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
เหรียญรุ่น 8 พุทโธ ปี.2517 เลี่ยมเงินเก่าสวยๆพร้อมห้อย
เนื้อทองแดงสุดยอดพิธีครับ
เหรียญหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ … “มรณกรรมฐาน”
นี้แหละพระพุทธเจ้าเสี้ยมสอนสาวกในครั้งพุทธกาล ว่า อย่าได้ประมาทให้พากันนึกถึงมรณกรรมฐาน เพราะว่ามรณกรรมฐานนี้ ถ้าผู้ใดภาวนาจนถึงขั้นสลดสังเวช เห็นแจ้งในใจของตนถึงความตายจริงๆจะเลิกละคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ได้ทุกอย่างทุกประการเพราะจิตมองเห็นได้ว่าอย่างไรเสียเราจะต้องตาย มองเห็นความตายใกล้เข้ามา ทำบุญให้ทานก็ได้ไม่ขัดข้อง รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ก็ได้ไม่ขัดข้องได้เพราะมองเห็นว่า อย่างไรเสียภายในร้อยปีนี่แหละเราจะต้องตายจากโลกนี้ ไม่ใช่เราจะมาอยู่อย่างนี้ตลอดไป ถ้านึกได้เจริญได้ ไม่ใช่เพียงแต่นึกติดๆ
ให้จิตใจมันซาบซึ้งใน “มรณภัย” มองถึงใครๆก็มีมรณภัยคอยรออยู่ด้วยกันทั้งนั้นแต่เราผู้ภาวนาก็รีบแหละ รีบเร่ง ถ้าไม่อย่างนั้นเมื่อพญามัจจุราชความตายมาถึงเข้าแล้ว เราจะเสียดายเมื่อภายหลังว่าเราไม่ได้รีบเร่งภาวนาให้ดีให้พร้อม กิเลสความโกรธ โลภ หลงก็ยังหนาแน่นอยู่ แล้วความตายมาถึงเรา เราก็จะเสียอกเสียใจเมื่อภายหลัง ถ้าเราทำให้เพียบพร้อมอยู่ เตือนใจตัวของตัวเองอยู่ทุกเวลา พุทโธทุกลมหายใจเข้าออก นึกถึงความตายให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออก จนเข้าถึงความสลดสังเวชเรื่องความตาย จิตใจก็สบายที่สุด
พระญาณสิทธาจารย์ นามเดิม สิม วงศ์เข็มมา ฉายา พุทฺธาจาโร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยกฝ่ายวิปัสสนาธุระสายพระป่าในประเทศไทยคณะธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
ชาติกำเนิด
พระญาณสิทธาจารย์ หรือ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา เวลาประมาณ 21.00 น. ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาชื่อ นายสาน – นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน ท่านเป็นคนที่ 5
อุปสมบท
เมื่อท่านอายุ 17 ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัว นั้นเอง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์
ศึกษาธรรม
ต่อมา กองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางธุดงค์มาถึงหนองคาย ท่านก็เฝ้าดูสังเกตพระศีลวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่นและหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และเกิดความเลื่อมใส จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 โดยมีพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทฺธาจาโร” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่าได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าบ้านเหล่างานี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐาน แก่ญาติโยมชาวขอนแก่น จากนั้นท่านก็เริ่มปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์สิงห์ ได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ จนถึงปี พ.ศ. 2480 หลังจากออกพรรษา ได้เรียนขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เดินทางธุดงค์กลับถึงบ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดตามคำอาราธนา และเมื่อหลวงปู่ปรารภ ที่จะให้มีวัดป่าธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นวัดแรกในบ้านบัว ญาติโยม จึงต่างสนองตอบ คำปรารภของหลวงปู่สิม อย่างกระตือรือร้นและเต็มอกเต็มใจ และในปี พ.ศ. 2504 ท่านพ่อลี ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์จึงมอบหมายให้หลวงปู่สิม ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสชั่วคราว และในปี พ.ศ. 2508 และ พ.ศ. 2509 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จำพรรษาอยู่ได้เพียง 1 พรรษา ในปี พ.ศ. 2510 หลวงปู่สิมได้อาพาธหลายโรค ท่านจึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัด และได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปล่อง
หลวงปู่เป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง อดทน พูดจริง ทำจริง ถือสัจจะมั่นคง เป็นผู้ไม่มากโวหาร ทุกวันหลวงปู่จะพาเริ่มงานตั้งแต่ตี 4 ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นพอ 10 โมงเช้า จึงพักฉันอาหาร หลังอาหารแล้วก็เริ่มทำงานกันต่อจนมืดค่ำ พอถึงเวลา 1 ทุ่ม หลวงปู่ก็จะพาสวดมนต์และฟังเทศน์ เสร็จแล้ว ก็เริ่มทิ้งหินลงในคอกไม้ที่สร้างไว้ ตลอดแนวฝาย กว่าจะได้จำวัดก็ 4 ทุ่ม หรือบางวัน งานจะติดพันจนถึงตีหนึ่งตีสอง เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา 4 เดือน นับตั้งแต่ เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2521 จนฝายน้ำล้นสร้างสำเร็จ หลวงปู่จึงกลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
Facebook : https://www.facebook.com/ponsrithong/
Reviews
There are no reviews yet.