ชุดพระกริ่ง藥師佛 พระกริ่งนเรศวรองค์ดำ ชุดกรรมการใหญ่ เนื้อเงิน เลข47
อนุสรณ์ 100 ปี พิษณุโลกพิทยาคม (โรงเรียนชาย) พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ปี 2542 พร้อมกล่องเดิม
ชุดกรรมการใหญ่ *** เนื้อเงิน *** จำนวนสร้าง 599 ชุด
พิธีเดียวกับพระกริ่งคู่ชีวิตอาจารย์ถนอม
อ.ถนอม ศรหุนะเจ้าพิธี
ศิษย์สายอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร
#พระกริ่งนเรศวรพระองค์ดำ
พิธีจักรพรรดิ์ครั้งที่3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ฉลอง100ปี โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก ด้านล่างพระกริ่งสลักด้วยหัวใจคาถาพาหุง”พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ” ซึ่งเป็นพระคาถาที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้บริกรรมก่อนการออกรบทุกครั้ง
ชนวนมวลสารสร้างตามตำหรับเดิมของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งอาจารย์ ถนอม ศรหุนะ (ตุ๊กแก) ศิษย์พุทธาคมของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร (ปรมาจารย์ไสยเวทย์ชื่อดังของเมืองไทยผู้เป็นเจ้าพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษกปี 2515) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงจารแผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง และทรงมีพระเมตตาคำนวณเวลาพระฤกษ์ก่อนทรงจารแผ่นทอง เงิน ทองแดงเป็นเวลานาน19นาทีเพื่อเป็นสิริมงคล อีกทั้งสมเด็จพระราชาคณะเช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ สมเด็จพระมหาธีราจารย์วัดชนะสงคราม สมเด็จพระมหามังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ทรงเมตตาจารอักขระแผ่นทอง เงิน ทองแดงด้วย
ชนวนศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วยชนวนจากการหล่อสร้างกริ่งนเรศวรรุ่นเก่าๆ เช่น ชนวนพระกริ่งปี2507
ชนวนกริ่งพระนเรศวร วังจันทน์ปี2515
ชนวนกริ่งนเรศวรเผด็จศึก ปี2522
ชนวนกริ่งนเรศวร400ปี ปี2533
ตะกรุดของพระเกจิอาจารย์ดังในอดีตกว่า60ดอก
ชนวนมวลสารได้ทำพิธีขอพระบรมราชานุญาตในการจัดสร้าง
และพิธีพุทธาภิเษกชนวนมวลสาร เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2542 (ซึ่งตรงกับวันขึ้นครองราชย์ในอดีต) ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก มีพระเกจิอาจารย์9รูปนั่งปรกอธิษฐานจิต เมื่อเสร็จพิธีแล้วได้มอบชนวนมวลสารทั้งหมดให้พระครูอุทัยธรรมกิจ (ตี๋) วัดหลวงราชาวาส และพระมหาโพธิ์ ญาณสังวโร วัดคลองมอญ ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกตลอดไตรมาส พ.ศ.2541 เป็นเวลา 7 เสาร์ 7 อังคาร อีกทั้งถ่านที่ใช้ในการสุมเตาเพื่อหลอมแผ่นชนวนมวลสารก็ใช้ถ่านทีทำจากไม้ราชพฤกษ์ ดินรองก้นเบ้าเข้าหุ่นใช้ดินจากในพิธีเททองพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ซึ่งประกอบด้วยดินกลางเมืองอันเป็นมงคล5แห่ง
คือเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
เมืองชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
เมืองชัยนาทจังหวัดชัยนาท
เมืองหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
และเมืองท่าชัย จังหวัดสุโขทัย
รายนามสุดยอดพระคณาจารย์ทีร่วมในพิธีปลุกเสกพิธีมหาจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตน มหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งแต่เวลา 8.39 น. ของวันจันทร์ที่3 พฤษภาคม 2542 (ตรงกับวันประกาสอิสระภาพที่เมืองแครงในอดีต) จนถึง เวลา 9.00น.ของวันอังคาร โดยสลับผลัดเปลี่ยนรวม4ชุด นับรวมได้ร้อยกว่ารูป เช่น….
/หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
/หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
/หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
/พ่อท่านฉิ้น วัดเมือง
/หลวงพ่อหงส์ วัดเพชรบุรี
/ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
/หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง
/หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
/หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน
/ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล
/หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
/หลวงพ่อรวยวั ดตะโก
/พ่อท่านทอง วัดสำเภาเชย
/หลวงพ่อตี๋ วัดหลวงราชาวาส
/หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม
/หลวงพ่อสาครวัดหนองกรับ
/หลวงพ่อสมควรวัดถือน้ำ
/หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ
/หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า
/หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา
/หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
/หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน
/หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
/หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก
/หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
/หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน
/หลวงพ่อเกษม วัดม่วง
/หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม
/หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
/หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
/หลวงพ่อธงชัยวั ดไตรมิตร
/หลวงพ่อรอด วัดสันติกาวาส
/หลวงพ่อถวิล วัดช้างให้
/หลวงปู่เหรียญ สำนักสงฆ์สวนจิตลดา เป็นต้น
พิธีกรรม จัดสร้างตามหลักโบราณจารย์
1. พิธีบวงสรวงขอพระบรมราชานุญาตและพุทธาภิเษกแผ่นยันต์วันที่ 29 กรกฎาคม 2541 (คล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ.2133) ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ และพระภาวนา 9 รูป นั่งบริกรรมปลุกเสก เกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติขึ้นประจวบเหมาะพิธี เป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก
2. พิธีพุทธาภิเษก–ชนวนมวลสาร–แผ่นยันต์–เททองวัตถุมงคลวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 (วันเพ็ญเดือน 12) ครั้งแรกของเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นผู้แทนองค์สมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราชฯ เป็นองค์ประธานในพิธี มีหลวงพ่ออุตตมะ หลวงพ่อเปิ่น หลวงปู่คำพันธ์ พร้อมเกจิอาจารย์ชื่อดัง 21 รูป นั่งปรกตลอดพิธี
3. พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ (ครั้งที่ 1 สมัยรัชกาลที่ 1 ครั้งที่ 2 ปี 2515) ณ วิหารพระพุทธชินราช วันที่ 3 พฤษภาคม 2542 (คล้ายวันทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง พ.ศ.2127) พระเถราจารย์ 109 รูป สวดพระคาถาจักรพรรดิราชเหนือมลฑลพิธีที่เดินด้วยสายสิญจน์เป็นตารางยันต์มหาจักรพรรดิ์ตราธิราช ก่อนพิธี 1 วัน พระเกจิชื่อดังทั่วประเทศ 109 รูป นั่งบริกรรมปลุกเสกตลอดคืน
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ปีเถาะ พ.ศ.2098 ณ พระราชวังจันทรเกษม (บริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในปัจจุบัน) ชื่อเสียงในการรบของพระองค์ขจรขจายไปทั่วโลก ชาวมาลายูเรียกท่านว่า “ราจาอาปี” แปลว่าราชาแห่งไฟ ชาวจีนเรียกว่า “หัวเจ้าซุง” ชาวตะวันตกเรียก “แบล็กพริ๊นซ์” เป็นต้น
พระองค์เป็นพระราชโอรสใน พระมหาธรรมราชา เจ้าเมืองพิษณุโลก ทรงถูกไปเป็นองค์ประกันที่กรุงหงสาวดีตั้งแต่อายุ9ขวบ และหนีออกจากกรุงหงสาวดีตั้งแต่อายุ15ปี ขณะที่อยู่ที่พม่าพระองค์ได้เรียนสรรพวิชาจากมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งสันนิษฐานว่าท่านอาจจะเป็นสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วนั่นเอง พระองค์ทรงเป็นผู้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ปี2127 และขึ้นครองราชในปี 2133 ในปี2135 พม่าได้ยกทัพใหญ่เข้าตีไทยพร้อมกันหลายทาง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพร้อมพระเอกาทศรถได้ยกทัพเข้าต้านก่อนทัพพม่าจะเข้าถึงกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงช้างชื่อพลายภุเขาทอง(ต่อมาทรงสถาปนาเป็น เจ้าพระยาไชยยานุภาพ) ท้ากระทำยุทธหัตถีเอาชนะพระมหาอุปราชา ขณะที่ตกอยู่ในวงล้อมทหารพม่าได้ ทำให้ทัพพม่าแตกพ่าย และไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลยอีกร้อยกว่าปี กล่าวได้ว่าตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสมรภูมิรบมากกว่าอยู่ในพระราชวังเสียอีก
กริ่งนเรศวรพระองค์ดำจัดได้ว่าเป็นพระเครื่องที่เป็นสุดยอดทั้งด้านชนวนมวลสาร พิธีกรรม ศิลปะ ความหมายของการจัดสร้างรวมทั้งสุดยอดพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษก การจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้กอบกู้เอกราชของชาติ และในวาระเฉลิมพระขนม์พรรษาครบ6รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งสุดยอดวัตถุมงคลแห่งสยามประเทศ
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
泰國佛陀護身符僧侶吊墜生命財富& 幸運泰國護身符 強力生命保護護身符: 居家與廚房
Reviews
There are no reviews yet.