พระกริ่งแก้วปฏิมากร วัดเกาะวาลุการาม เนื้อนวะ ปี2514
จักรพรรดิพระกริ่ง อันดับ 1 ที่พิธีปลุกเสกดีที่สุดที่ถูกบันทึก พระกริ่งแก้วปฏิมากรได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดเกาะวาลุการาม ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2514 ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (7 เหนือ).
พร้อมหลวงพ่อเกษม เขมโก ก็ร่วมเสก ในพิธีเดียวกัน
มูลเหตุการสร้าง
ปี 2514 คณะกรรมการดำเนินงานจะไดขอกราบอาราธนาเจ้าประคุณฯสมเด็จพระวันรัต แห่งวัดพระเชตุพน จังหวัดพระนคร เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยพิมพ์เล็ก (ชัยวัฒน์) ปีพ.ศ.๒๕๑๔ วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรามรายได้ไปก่อสร้างเพิ่มเติม ศาลาการเปรียญ,กุฏิสงฆ์และอุโบสถ ของวัดเชียงราย,วัดเกาะวาลุการาม,วัดคะตึกเชียงมั่น,และวัดหัวข่วง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ซึ่งกำลังปลูกสร้างค้างอยู่ยังไม่แล้วเสร็จจำนวน ๔ วัด ประมาณเงินทั้งสิ้น ๔ แสนบาทเศษ
เจ้าพิธีและผู้อำนวยการประกอปพิธีพุทธาภิเษก พระราชวิสุทธี เจ้าคณะจังหวัดลำปาง
ประธานกรรมการฝ่ายสงค์ นายสุบิน เกษทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ประธานกรรมการฝ่ายฆราวาส
พระอาจารย์ไสว สุมโน แห่งวัดราชนัดดารามวรวิหาร จังหวัดพระนคร เป็นเจ้าพิธี
พล.ต.ตยรรยง สถ้านไตรภพ รองจเรตำรวจ เป็นผู้ควบคุมอำนวยการสร้าง
พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ แห่งสำนักพระราชวัง เป็นผู้ร่วมประกอปพิธีกรรมตามลัทธิศาสนาพราหมณ์
จึงนับได้ว่าพิธีพุทธาภิเษก” พระกริ่งแก้วปฎิมากร ” จะเป็นพิธีที่ถูกต้องสมบูรณ์ทุกประการ องค์ประธานจุดเทียนชัย คณะกรรมการดำเนินงานจะไดขอกราบอาราธนาเจ้าประคุณฯสมเด็จพระวันรัต แห่งวัดพระเชตุพน จังหวัดพระนคร เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย
ด้านเนื้อหาวรรณะของพระกริ่งแก้วฯ เนื้อในจะเป็นสีแดงอมนาคโทนออกสีแสดแดง ถ้าผ่านการสัมผัสอากาศผิวนอกจะกลับดำอมเขียว อย่างไรก็ตามบางองค์อาจมีผิวเหลือบเงินก็ได้ และสำรับผิวชั้นนอกในบางองค์จะมีสนิมสีดำประปราย ถ้ามองดูที่ก้นจะเป็นฝาปิดทองเหลือง เข้าด้วยการตอก และเชื่อมประสานด้วยเงิน วรรณะของพระกริ่งใหญ่และกริ่งเล็กจะเหมือนกัน สำหรับกริ่งเล็กบางองค์อาจมีดินเบ้าอยู่ตามซอกบ้าง ส่วนกริ่งใหญ่อาจไม่เห็นแล้วจะเหลือผิวสีดำอยู่ตามซอกแทน
พระกริ่งแก้วปฏิมากรที่พบเห็นกันโดยทั่วไปจะมีด้วยกันสองขนาด คือ พระกริ่งแก้วปฏิมากร พิมพ์ใหญ่ สร้าง 500 องค์ และกระกริ่งแก้วปฏิมากร พิมพ์เล็ก สร้าง 500 องค์ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งขนาดและพิมพ์ทรงโดยเฉพาะคำจารึกชื่อพระนามที่พิมพ์ใหญ่จะเป็นตัวนูนส่วนพิมพ์เล็กจะเป็นตัวจม โดยวรรณะหรือสีของพระกริ่งแก้วปฏิมากรนี้มีความเข้มข้นถือเป็นพระกริ่งชั้นยอดอีกหนึ่งสำนักและโดยส่วนตัวเชื่อว่าถ้าผู้ที่สันทัดหรือมีความชอบพระกริ่งคงจะสามารถแยกแยะระหว่างเก๊และแท้ได้ไม่ยากจนเกินไป และโดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ราคาพระกริ่งแก้วปฏิมากรปรับลดลงมาจากเดิมทำให้น่าสะสมและอาราธนายิ่งนักและคาดว่าในอนาคตนับได้ว่าเป็นพระกริ่งที่น่าจับตามองอีกสำนักหนึ่ง
เคยมีเรื่องเล่าอยู่ว่ามีผู้นำพระในพิธีนี้ห่อใส่กระเป๋าเสื้อเพื่อที่จะไปกราบเรียนถามหลวงพ่อเกษม เขมโก ว่าใช่พระของท่านหรือไม่ซึ่งในขณะที่เข้าพบหลวงพ่อยังไม่ได้ทันได้เอ่ยอะไรหลวงพ่อท่านก็เมตตาชี้มาที่กระเป๋าเสื้อและทักกับท่านผู้นั้นโดยสรุปว่าเป็นพระที่ท่านได้ร่วมมนต์โดยมีพระอาจารย์โต๊ะหรือหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉมพลี เป็นประธาน
ลำดับพระที่อยุ่ในพิธี
สมเด็จพระวันรัตน์” ทรงอธิษฐานเจิมเทียนชัยและจุดเทียนชัย พราหมณาจารย์เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะ เป่าแตร สังข์ ดนตรีประโคมเพลงมหาฤกษ์มหาชัย พระราชครูวามเทพมุนีอาราธนาพระปริตร พระราชาคณะ 10 รูป ดังนี้
(1) เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน พระนคร
(2) เจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
(3) เจ้าคุณพระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดา พระนคร
(4) เจ้าคุณพระราชสุพรรณาภรณ์ วัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี
(5) เจ้าคุณพระราชสุตาจารย์ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
(6) เจ้าคุณพระภัทรสารมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่
(7) เจ้าคุณพระสิทธิปัญญาภรณ์ วัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง
(8) พระครูประสาธน์สุตวัฒน์ วัดน้ำล้อม จังหวัดลำปาง
(9) พระครูวิทิตธรรมคุณ วัดหลวง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
(10) พระครูประสิทธิ์บุญวัฒน์ วัดสวนดอก จังหวัดลำปาง
(11) พระครูศรีปริยัติกิติ์ วัดสิงห์ชัย จังหวัดลำปาง
โดยสมเด็จพระวันรัตน์ทรงเป็นองค์ประทานเจริญพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์เข้านั่งปรกรอบมณฑลพิธีภาวนาตลอด จบแล้วเจ้าประคุณสมเด็จทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์
ครั้นเวลา 19.30 เริ่มพิธีพุทธาภิเษก พระพิธีธรรมเข้าประจำที่ ประธานกรรมการถวายสักการบูชา จุดเทียนพุทธาภิเษก พระมหานาคสวดพุทธาภิเษก สลับพระพื้นเมือง พระเกจิอาจารย์ชุดแรกนั่งปรก
ดังนี้ (1) เจ้าคุณพระราชปัญญาโสภณ (หลวงพ่อสุก) วัดราชนัดดา พระนคร
(2) เจ้าคุณพระราชมุนี (หลวงพ่อโฮม) วัดประทุมวนาราม พระนคร
(3) เจ้าคุณพระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
(4) เจ้าคุณพระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร์) วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
(5) เจ้าคุณพระสังวรกิจโกศล (หลวงพ่อบุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม ธนบุรี
(6) พระครูพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
(7) พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
(8) พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง พระนครศรีอยุธยา
(9) พระครูกัลยาณวุฒิคุณ วัดท่าเจริญ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
(10) พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
(11) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จังหวัดนนทบุรี
(12) พระครูวิริยกิตติ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี
(13) พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
(14) หลวงพ่อติ๊บ อุปสิ วัดผาปังหลวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง
(15) ครูบาโต วัดบุญยืน อำเภอพะเยาว์ จังหวัดเชียงราย
(16) พระครูศรีปริยัติยานุตรักษ์ (หลวงพ่อไฝ) วัดพันอ้น จังหวัดเชียงใหม่
(17) หลวงพ่อพรหมจักร วัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
(18) พระครูวรเวทวิธาน (หลวงพ่อปรีดา)
(19) หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง จังหวัดเพชรบุรี
(20) พระครูศรีปทุมรัตน์ (หลวงพ่อท่าฉลอง) วัดศรีบัวบาน จังหวัดสุพรรณบุรี
(21) ครูบาวงศ์ วัดท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
(22) หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
(23) หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อำเภอลานหอย จังหวัดสุโขทัย
ต่อมาเวลา 01.00 น. พระเกจิเถราจารย์ เข้าประจำที่นั่งปรก ชุดที่ 2 ประกอบด้วย
(1) พระครูอุดมเวทวรคุณ (หลวงพ่อเมือง) วัดท่าแหน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
(2) พระครูธีรธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อมอย) วัดกาสา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
(3) หลวงพ่อวัดถ้ำปุ่มถ้ำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
(4) พระครูใบฎีกาศรีศักดิ์ วัดฉิมพลี อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
(5) พระครูรัตนานุรักษ์ (หลวงพ่อแก้ว) วัดปงสนุกใต้ จังหวัดลำปาง
(6) พระครูอินถา วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
(7) พระครูพินิจ วัดกระจับพินิจ ธนบุรี
(8)หลวงพ่อวงศ์ วัดป่าใคร้ใต้ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
(9) หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า จังหวัดลำปาง
(10) พระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม จังหวัดนครปฐม
(11) หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จังหวัดลพบุรี
(12) พระครูหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
(13) หลวงพ่อผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร
(14) พระครูวินัยธรศรีนวล ชินวังโส วัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง
(15) หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ อำเภอบางพลัด ธนบุรี
(16) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส พระนคร
(17) พระอาจารย์สมคิด กิตติสาโร วัดราชนัดดา พระนคร
(18) พระครูโสภณปัญญาคุณ (หลวงพ่อโสม) วัดหัวข่วง จังหวัดลำปาง
(19) พระอาจารย์ชุบ ทินนโก วัดเกาะวาลุการาม จังหวัดลำปาง
(20) หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก
(21) พระอาจารย์มี วัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
(22) หลวงพ่อครูพุฒิ วัดม่อนคีรีชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
(23) หลวงพ่อแก้ว สุมโน วัดพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
(24) พระอาจารย์วิมล วัดถ้ำเขาปูน จังหวัดกาญจนบุรี
รุ่งขึ้นวันใหม่ (วันที่ 11 เมษายน 2514) เวลา 06.00 น. เจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ องค์ดับเทียนชัย และเวลา 07.00 น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธีงานพุทธาภิเษก
ด้านเนื้อหาวรรณะของพระกริ่งแก้วฯ เนื้อในจะเป็นสีแดงอมนาคโทนออกสีแสดแดง ถ้าผ่านการสัมผัสอากาศผิวนอกจะกลับดำอมเขียว อย่างไรก็ตามบางองค์อาจมีผิวเหลือบเงินก็ได้ และสำรับผิวชั้นนอกในบางองค์จะมีสนิมสีดำประปราย ถ้ามองดูที่ก้นจะเป็นฝาปิดทองเหลือง เข้าด้วยการตอก และเชื่อมประสานด้วยเงิน วรรณะของพระกริ่งใหญ่และกริ่งเล็กจะเหมือนกัน สำหรับกริ่งเล็กบางองค์อาจมีดินเบ้าอยู่ตามซอกบ้าง ส่วนกริ่งใหญ่อาจไม่เห็นแล้วจะเหลือผิวสีดำอยู่ตามซอกแทน
ส่วนฝีมือหรือรูปแบบการแต่งส่วนใหญ่จะเหมือนกันจะแตกต่างที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ บ้าง ซึ่งถ้าเป็นพระกริ่งหล่อในพิธีและจำนวนรวมถึง ๑,๐๐๐ องค์แล้ว ช่างย่อมมีเวลาน้อยที่จะเก็บรายละเอียดให้เหมือนกันทุกองค์ อย่างไรก็ตามเนื้อในและธรรมชาติของรุ่นนี้ย่อมเหมือนกัน กริ่งเล็กส่วนใหญ่จะมีการเซาะร่องที่ตัวหนังสือด้านหลังให้จมและคมชัดยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่ใช้แยกแยะของเก๊แท้ได้ประการหนึ่ง
Reviews
There are no reviews yet.