เหรียญห่วงเชื่อมมหาสีหนาท หลวงปู่บุญมา สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง เนื้อทองแดงรมดำ หน้ากากชุบเงินลงยา (เลขสวย 29) พร้อมเลี่ยม
#หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ ปีเถาะ ในสกุล “จิตศรี” บิดาชื่อ นายพ่วง และมารดาชื่อ นางทองคำ จิตศรี ไผ่เจริญ หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม ท่านเป็นบุตรคนที่สองของครอบครัว ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๔ คน ดังนี้
๑. นางเลียบ จิตศรี
๒. นายบุญมา จิตศรี (หลวงปู่บุญมา โชติธมฺโม)
๓. นายสุวิทย์ จิตศรี
๔. นางสมหมาย จิตศรี
◎ ปฐมวัย
ครอบครัว หลวงปู่บุญมา มีอาชีพทำนา ฐานะทางบ้านก็พอมีพอกินปานกลาง แต่มาระยะหลังมีลูก ๔ คน ทำให้อาหารการกินฝืดเคือง เด็กชายบุญมาเจริญวัยตามกาลเวลา จวนจบกระทั่งถึงวัยที่จะต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียน ผู้เป็นพ่อส่งเด็กชายบุญมาให้ไปอยู่กับ หลวงพ่อเขียน หรือ พระครูประสารวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านกุง ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเด็กชายบุญมา มีศักดิ์เป็นหลานของหลวงพ่อเขียน สมัยนั้นหลวงพ่อเขียนเป็นพระเกจิอาจารย์เก่งทางด้านอยู่ยงคงกระพัน เด็กชายบุญมาได้อยู่รับใช้หลวงพ่อเขียน และศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดบ้านกุง
จนกระทั่ง หลวงปู่บุญมา จบการศึกษาประชาบาลชั้นประถมปีที่ ๓ นายพ่วงผู้เป็นพ่อก็ไปรับตัวกลับให้มาอยู่กับ “หลวงปู่เอี่ยม” พระเกจิอาจารย์ที่มีคนให้ความเคารพนับถือกันมาก ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” หลวงปู่เอี่ยมนั้น มีวิชาอยู่ยงคงกระพันชาตรี หลวงปู่เอี่ยม รับเด็กชายบุญมาไว้เป็นลูกศิษย์แล้วก็ส่งให้เรียนต่อชั้นประถมปีที่ ๔ จนจบ พอโตเป็นหนุ่มหลวงปู่เอี่ยมก็สอนวิชาอาคม ให้ร่ำเรียนอักขระวิชาต่างๆ ฝึกให้ทำจิตให้เป็นสมาธิ สอนการนั่งวิปัสสนากรรมฐานขั้นต้นให้
◎ หลวงปู่บุญมาอุปสมบท
นายบุญมาใช้ชีวิตทางโลกอยู่จนกระทั่งอายุ ๒๕ ปี เข้าวัยเบญจเพศจึงหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นศิษย์พระตถาคตเจริญรอยตามพระพุทธองค์ โกนหัวปวารณาตัวอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดทุ่งแฝก หมู่ ๒ ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พระครูศรีวิเลิศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการกรอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “โชติธมฺโม” แปลว่า “ผู้มีความสว่างในธรรม, ผู้โชติช่วงในพระธรรม”
หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง
หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง
เมื่อบวชแล้ว ภิกษุหนุ่มนามบุญมาก็ศึกษาพระธรรมวินัย จนสามารถสอบนักธรรมเอกได้ในเวลาต่อมา ในระหว่างนั้นเองทางวัดบ้านแก่ง ว่างสมภารลง หลวงพ่อใหญ่ก็ได้สั่งให้ พระอธิการบุญมา มาเป็นสมภารวัดบ้านแก่ง สืบแทนหลวงพ่อทองดีที่มรณภาพ พระอธิการบุญมา พอมาอยู่วัดบ้านแก่ง ก็ทำนุบำรุงพัฒนาวัดตามแต่อัตภาพ สมัยนั้นวัดบ้านแก่งและหมู่บ้านค่อนข้างทุรกันดาร ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ความเป็นอยู่ของชาวบ้านไม่ค่อยดี วัดก็เลยไม่รุ่งเรืองตามสภาพ ขณะอยู่วัดพระอธิการบุญมาก็ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะพระกรรมฐานนั้น พระอธิการบุญมาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้รับถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่เอี่ยมนำมาปฏิบัติด้วยตนเองอย่างเคร่งครัด
หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง
หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง
พระครูสุนทรโชติธรรม (หลวงปู่บุญมา โชติธมฺโม) ได้ปฏิบติกัมมัฏฐาน โดยกำหนดเอาแสงสว่างจากเปลวเทียนเป็นหลัก เพ่งกสิณจากเปลวแสงเทียนที่เรียกกันว่า “เตโชกสิณ” คือ การทำสมาธิจิตเพ่งแสงสว่างแห่งเปลวไฟ กำหนดเอาธาตุทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมั่นคง แล้วพุ่งกระแสจิตสู่สิ่งที่กำหนดนั้น จนดวงจิตสงบนิ่งบังเกิดความสว่างขึ้นกลางมโนจิต อันเป็นการบรรลุมรรคผลในระดับหนึ่ง นั่นคือการสามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิอันแน่วนิ่งและมั่นคงได้ จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบของการบำเพ็ญพระกรรมฐานและการทำกสิณ ตลอดเวลาท่านได้พัฒนาวัดบ้านแก่งมาตลอด จนสามารถสร้างกุฏิ สร้างศาลาการเปรียญ และสร้างโบสถ์ใหม่ได้สำเร็จ ยกช่อฟ้าอุโบสถและ ผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิต มีลูกศิษย์เลื่อมใสศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้ หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม ท่านยังให้การอุปถัมภ์วัดโนนฝาวพุทธาราม ในการสร้างพระอุโบสถจนแล้วเสร็จและได้ทำการยกช่อฟ้าพระอุโบสถและผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมถึงท่านยังให้การอุปถัมภ์ในการก่อสร้างศาสนสถานในวัดอื่นๆ อีกมากมาย
ด้วยบารมีของ หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม ทำให้ท่านมีคณะศิษยานุศิษย์มากมาย มีตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ผู้นำเหล่าทัพ อธิบดี ข้าราชการ ดารา นักร้อง นักกีฬา รวมถึงประชาชนทุกสาขาอาชีพ
หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง
หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง
ปัจจุบัน พระครูสุนทรโชติธรรม (หลวงปู่บุญมา โชติธมฺโม) สิริอายุได้ ๘๒ ปี (พ.ศ.๒๕๖๔) ท่านได้มาพักจำพรรษา ณ สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งกำลังดำเนินการปรับพื้นที่ สร้างซุ้มประตูวัด กุฎิสงฆ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา ศาลาหอฉัน และงานที่สำคัญของหลวงปู่ คือ สร้างศาลาการเปรียญ เพื่อที่สาธุชนและศิษยานุศิษย์ จะได้ใช้ประโยชน์ ในการประกอบงานบุญต่างๆ เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาสืบไป
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
web palana : พระล้านนา.คอม
http://www.pralanna.com/ponsrithong
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.