พระกริ่งมหาดไทย”สิงห์หนึ่ง รุ่นแรก” ครูบาหล้า วัดป่าตึง ปี30 (เนื้อนวะ สวยเดิมกริ่งดัง)
เป็นหนึ่งในศิษย์สายครูบาศรีวิชัย ที่ยึดแนวปฏิบัติของนักบุญแห่งล้านนาเป็นแบบอย่าง
ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ด้วยเป็นพระที่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักศีลธรรม ได้รับสมญานามว่ามีญาณวิเศษที่สามารถ ล่วงรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ จนชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่หล้า ตาทิพย์”
เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ของวัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมเป็นวัดร้าง และได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่โดย ครูบาปินตา
ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือกำเนิดขึ้นที่หมู่บ้านปง อ.ออนใต้ เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2441 มีนามเดิมว่า หล้า บุญมาคำ ซึ่งในภาษาเหนือหมายถึง “สุดท้าย” เพราะท่านเป็นคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 4 คน บุตรนายเงิน นางแก้ว บุญมาคำ ประกอบอาชีพทำนา
อายุ 1 ขวบ บิดาถึงแก่กรรม แม่จึงนำไปฝากเป็นเด็กวัดกับครูบาปินตา บวชเป็นสามเณร เข้ากรรมอยู่ในป่า เรียนหนังสือ พื้นเมือง หนังสือไทย
อายุ 18 ปี เข้าไปอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ เพื่อเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพระเชตุพนฯ แต่เรียนได้ปีเดียว ต้องกลับวัดป่าตึง เพื่อปรนนิบัติครูบาปินตา ซึ่งชราภาพมาก
พออายุ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดป่าตึง ในอุโบสถน้ำ (นทีสีมา หรืออุทกุกเขปสีมา ซึ่งเป็นประเพณีนิยมของลังกา) ครูบาปินตา เป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาอิ่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณวิชัย เป็นพระ อนุสาวนาจารย์
ครูบาปินตา เป็นอาจารย์สอนการนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานรูปแรก นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้มาจากครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง ศิษย์เอกซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากครูบาศรีวิชัย
ขณะอายุ 23 ปี มีโอกาสไปกราบครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนา ที่วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน โดยเดินเท้าเปล่าไปเป็นเวลาถึง 3 วัน
เมื่อครูบาศรีวิชัย จำพรรษาที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ท่านก็ไปกราบอีกหลายครั้ง
หลังสิ้นครูบาปินตา จึงต้องรับภาระเป็นเจ้าอาวาส เมื่อมีอายุเพียง 27 ปี
เมื่ออายุ 35 ปี ได้รับความไว้วางใจแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลออนใต้
พัฒนาวัดป่าตึง จนมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน
ขณะที่ว่างเว้นจากการพัฒนาอาราม จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจผู้คนไปด้วย โดยสงเคราะห์อนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านตลอดมา
แม้ชาวเขาเผ่าต่างๆ ทั้งใกล้วัดไกลวัดป่าตึงก็หยิบยื่นเมตตาให้เป็นประจำ ทั้งอาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
พ.ศ.2504 หลวงปู่หล้า ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครู จันทสมานคุณ ซึ่งขณะนั้น อายุ 63 ปี
มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2536 อายุ 97 ปี ยังความเศร้าสลดใจมาสู่คณะศรัทธาญาติโยมทั่วไป
Reviews
There are no reviews yet.