พระสังกัจจาย พระปิดตาตุ๊กตาใหญ่ หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข
พระสังกัจจาย พระปิดตาตุ๊กตาใหญ่ หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข ปี2530
หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข (พระอภิญญาผู้ชำนาญกสิณน้ำ) พระรุ่นที่5ปี2530 -หลวงปู่เศกเดี่ยว1พรรษา+อีก9คืน
-พิธีพุทธาภิเษก6พระเถราจารย์ หลวงพ่อแพเข้าโบสถ์มา ถามหลวงปู่ว่า จุดเทียนชัยแบบนี้ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกเฌอ จุดใช่ไหม(จุดเทียน8ทิศวนขวา) แล้วใคร จะเป็นผู้ดับเทียนชัย หลวงปู่ตอบว่าหลวงพ่อเริ่มจุด และผม เป็นผู้ดับเทียนชัยเอง(ดับเทียน8ทิศยาก) หลวงพ่อแพถึงได้ยกย่องหลวงปู่วิเวียร มาก ใครไปหาหลวงพ่อแพๆจะบอกว่าให้ มากราบหลวงปู่วิเวียรให้ได้นะ พระสังกัจจายตุ๊กตา
-เนื้อผงพุทธคุณ+เกษรสีขาวเหลือง ฝังตะกรุดเงิน750องค์ ไม่ฝังตะกรุด7000องค์(ฝังกรุ2000องค์)
-เนื้อผงพุทธคุณ+น้ำว่านเสน่ห์จันทร์ขาว- เขียว-น้ำใบเตยสีเขียวมรกต ฝังตะกรุดเงิน200องค์ไม่ฝังตะกรุด1000
ประวัติและปฏิปทา พระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญฺโญ)
พระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญญเถร บุญมาก) วัดดวงแข กรุงเทพมหานคร หลวงปู่วิเวียร เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน 2464 บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 9 กรกฎาคม 2482 อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ พ.ศ. 2484 เป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมถะและวิปัสสนาอย่างมาก ท่านเป็นพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานต่อผู้ใคร่ศึกษา อาจารย์ของท่านประกอบด้วย พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน (ลูกศิษย์องค์สำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ (ศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท,หลวงปู่เฮง คงฺคสุวณฺโณ วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์) วัตถุมงคลที่ท่านอธิฏฐานจิตมีพุทธานุภาพและกฤดาภินิหารอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์และผู้นิยมพระเครื่อง หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญญเถร (บุญมาก) ละสังขาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 เวลา 4 ทุ่มตรง รวมสิริอายุได้ 73 ปี พรรษา 53
การเข้าสู่เส้นทางวิปัสสนากัมมัฎฐานและพระเวทย์วิทยาคม
พระวิมลธรรมภาณ มีนามเดิมว่า สังเวียน บุญมาก กำเนิด ณ บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2464 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา โยมบิดาชื่อ กริ่ม บุญมาก โยมมารดาชื่อ พริ้ง บุญมาก มีพี่น้องรวมด้วยกัน 6 คน คือ 1. นางขาว เหมพิจิตร 2. นางสาวละออง บุญมาก 3. นางน้ำค้าง บุญมาก 4. นางน้ำผึ้ง บุญมาก 5. พระพรหมมุนี (ปุญญารามเถร หลวงปู่วิชมัย บุญมาก) วัดบวรนิเวศวิหาร 6. พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก) วัดดวงแข เมื่อเยาว์วัยได้รับการศึกษา ณ โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ จบชั้นประถมปีที่ 4 แล้วได้ทำการศึกษาต่อจนจบวิชาครูเกษตรกรรม พ.ศ. 2482 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่ออายุได้ 18 ปี และได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดดวงแข วันที่ 9 กรกฎาคม 2482 โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหารเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรสอบไล่ได้นักธรรมโท เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 ได้อุปสมบทที่วัดดวงแข โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ ทรงเป็นพระอุปฌาย์ พระสุพจนมุนี (ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระพรหมมุนี สุวจเถรผิน ธรรมประทีป) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดรัตน์ (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระญาณวิสุทธิเถร) วัดดวงแขเป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากอุปสมบทแล้วได้ทำการสอบบาลีประโยค 3 แต่ปรากฏว่าสอบตกจึงได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยเข้าพักอาศัยอยู่กับท่านพระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (หลวงพ่ออยู่) เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่งหรือบิดาบุญธรรม และนี่คือวิถีชีวิตของหลวงปู่ที่ได้เปลี่ยนแปลงใหม่เมื่อเสียใจกับการสอบตกในการสอบบาลี หลวงพ่ออยู่ก็เลยให้หันเหชีวิตมาในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานและศึกษาพระเวทย์วิทยาคมจากหลวงพ่ออยู่แทนจนสำเร็จ (หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่งเป็นศิษย์เอกของ 3 พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยก่อนคือศิษย์ของท่านพระครูวิมลคุณากรหรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท พระครูพิสิสถสมถคุณหรือหลวงปู่เฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ และพระครูนิวาสธรรมขันธ์หรือหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์) วิชาของ 3 พระอาจารย์นี้หลวงพ่อได้ถ่ายทอดให้หลวงปู่วิเวียรจนหมดสิ้น ตำราพระเวทย์เหล่านี้หลวงปู่วิเวียรได้เคยเล่าให้ฟังว่าปัจจุบันนี้ยังอยู่ที่วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ หลวงปู่ได้เดินทางขึ้น-ลงระหว่างวัดดวงแขกับวัดบ้านแก่ง เวลาเข้าพรรษาจะอยู่ที่วัดดวงแข พอออกพรรษาจะมาอยู่ที่วัดบ้านแก่งเพื่อศึกษาพระเวทย์ต่างๆ กับหลวงพ่อตั้งแต่ พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2491 หลวงพ่ออยู่ มรณภาพ พ.ศ. 2491 (อายุ 72 ปี) เมื่อจัดการงานศพของหลวงพ่ออยู่เสร็จแล้วหลวงปู่ก็ได้เดินทางกลับวัดดวงแขเพื่อทบทวนพระเวทย์วิทยาต่างๆ จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2495
หลวงปู่เล่าให้ฟังว่าในวันหนึ่งมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งได้เดินเข้ามาในวัดดวงแข และขออนุญาตพัก 1 คืน หลวงปู่ก็จัดที่พักให้ที่ศาลาสูง (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) หลวงปู่ก็จัดการกวาดวัดต่อไปจนเวลาประมาณเกือบ 2 ทุ่ม หลวงปู่กวาดวัดเสร็จก็สรงน้ำเพื่อที่จะสวดมนต์ทำวัตร พระภิกษุชรารูปนั้นก็ได้กวักมือเรียกหลวงปู่ไปพบบอกว่าเดี๋ยวสวดมนต์ทำวัตรด้วยกัน เมื่อทั้งสองรูปพร้อมแล้วพระภิกษุชรารูปนั้นก็บอกว่าปลงอาบัติก่อนผมก็เป็นพระธรรมยุติเหมือนกับท่านบวชมาตั้งแต่เป็นเณร เมื่อปลงอาบัติเสร็จแล้วก็เริ่มสวดมนต์กันจนจบ หลวงปู่บอกว่าพระภิกษุชรารูปนี้สวดมนต์ได้เพราะมากอักขระชัดเจนสวดเก่งมาก เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้วก็ให้นั่งกัมมัฏฐานประมาณครึ่งชั่วโมง พระภิกษุรูปนั้นก็สั่งให้หยุดนั่ง และสอบถามประวัติหลวงปู่ว่าใครอบรมสั่งสอนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลวงปู่บอกว่าท่านพระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (หลวงพ่ออยู่) วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ พระภิกษุชรารูปรูปนั้นก็ยกมือขึ้นไหว้แล้วพูดว่าท่านหลวงพ่ออยู่นี้เก่งมากอบรมศิษย์ได้ถึงขนาดนี้ พระภิกษุชรารูปนั้นก็บอกว่าตัวของท่านคือพระอาจารย์สิงห์แห่งโคราช เมื่อหลวงปู่ทราบก็ก้มลงกราบเท้าพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์สิงห์เลยบอกให้หลวงปู่ไปจัดดอกไม้ธูปเทียนผ้าขาวน้ำเปล่าอีก 1 แก้ว พระอาจารย์สิงห์ก็ให้หลวงปู่ถวายท่านเพื่อทำการศึกษาวิชาพระเวทย์วิทยาต่าง ๆ และได้อบรมสั่งสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อจนสำเร็จในวิชาของท่าน ในครั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ได้อยู่พักที่วัดดวงแข 10 วัน ได้สอนให้หลวงปู่เขียนอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ มากมาย
หลวงปู่บอกว่าวิชากัมมัฏฐานของพระอาจารย์สิงห์นั้น เป็นวิชาที่ลึกซึ้งมากต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี ถึงเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านแนะนำมา ในระหว่างที่ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์สิงห์นั้นพระอาจารย์สิงห์ได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์ต่าง ๆ ถ้าหากว่าหลวงปู่เดินทางผ่านไปก็ให้ไปกราบพบครูบาอาจารย์เหล่านั้นได้ เมื่อพระอาจารย์สิงห์เดินทางกลับไปจังหวัดนครราชสีมาแล้ว หลวงปู่ก็ได้พบกับพระอาจารย์สิงห์อีกหลายครั้งด้วยกัน อาทิ วัดบรมนิวาส วัดปทุมวนาราม จ. กทม. และที่ต่างจังหวัดอีกหลายครั้งรวมทั้งเคยร่วมธุดงค์ไปกับพระอาจารย์สิงห์ถึงประเทศลาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่ได้ไปศึกษาวิชาการลบผงจากหลวงพ่อโด่ หลวงปู่เล่าไปให้ฟังว่าหลวงพ่อโด่เก่งมาก ปลุกเสกพระหรือปลัดถึงกับลอยได้วิ่งได้เลยทีเดียวนับได้ว่าพระอาจารย์ของหลวงปู่อีกรูปหนึ่ง ส่วนสหธรรมิกที่สนิทมีด้วยกันหลายรูป เช่น หลวงปู่อยู่ วัดใหม่หนองพระอง จ.สมุทรสาคร หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม จ.อ่างทอง หลวงปู่บุญญฤทธิ์ ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ ฯลฯ
ผลงาน
พ.ศ. 2500 ปรับปรุงและพัฒนาวัดดวงแข (พ.ศ. 2500 – 2536)
พ.ศ. 2501 อุปถัมภ์วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ สร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ สร้างกุกฏิสร้าง 4 หลัง สร้างศาลาดินหลังเล็ก สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม บูรณะพระอุโบสถ วิหาร ปรับปรุงฌาปนสถาน ฯลฯ
พ.ศ. 2507 อุปถัมภ์การก่อสร้างถนนรังสิโขทัย จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. 2512 อุปถัมภ์การก่อสร้างวัดบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พ.ศ. 2516 จัดสร้างสถานีอนามัยประจำตำบลบ้านแก่ง
พ.ศ. 2518 จัดสร้างโรงเรียนมัธยมชัชวลิตวิทยาประจำตำบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ โดยการบริจาคที่ดินของตระกูลหลวงปู่ 35 ไร่
พ.ศ. 2526 จัดตั้งศูนย์พัฒนาอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนที่ตำบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. 2527 อุปถัมภ์การก่อสร้างวัดเกาะแก้ว วัดมะเกลือ วัดวิชมัยปุญญาราม
พ.ศ. 2530 จัดตั้งบุญนิธิพุทธเมตตา (เพื่อการศึกษา แบละอาหารกลางวันเด็กนักเรียนยากจน)
พ.ศ. 2531 อุปถัมภ์การก่อสร้างวัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม รัฐแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ร่วมกับท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. 2536 จัดสร้างกุฏิสงฆ์ที่วัดดวงแขเป็นอาคารทรงไทยสูง 4 ชั้น และบูรณะพระอุโบสถวัดดวงแขอีก ฯลฯ
ตำแหน่งหน้าที่การปกครอง
พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
พ.ศ. 2508 เป็นที่ปรึกษาของท่านเลขาธิการคณะธรรมยุติในสมัยพระเทพวราภรณ์ เป็นเลขาธิการคณะธรรมยุติ
พ.ศ. 2519 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดวงแข
พ.ศ. 2522 เป็นที่ปรึกษาของท่านเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุติ) มีพระธรรมดิลกเป็นเจ้าคณะภาค และเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดดวงแข
พ.ศ. 2532 เป็นพระวินยาธิการชุดแรกของคณะธรรมยุติและเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ในสมัยพระพรหมมุนี เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2535 เป็นเจ้าอาวาสวัดดวงแข ฯลฯ
“เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Web ( มุมพระ) : มุมพระ https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
Facebook : https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG : https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.