พระคำข้าว รุ่น2 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี พิมพ์พระบาทขีด องค์ที่ 11
พระคำข้าว รุ่น 2 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง พิมพ์พระบาทขีดหลังลึก
พระคำข้าว (พระมหาลาภ) เป็นพระเนื้อผงสีขาวปางมารวิชัย สร้างแบบพระพุทธชินราช มี ๒ รุ่น
วิธีอาราธนา พระคำข้าว และ พระหางหมาก พระคำข้าว รุ่น2 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
พระคำข้าว รุ่น2 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน – หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
“หลวงพ่อพระราชพรหมยาน” หรือ “หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ” วัดจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ตามปูมประวัติหลังมรภาพสังขารของท่านมิได้เน่าเปื่อยและได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการกล่าว
กันว่า คนที่ต้องการเป็นศิษย์ของ “หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ” ไม่ต้องขออนุญาตแม้ว่าไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันเลยสักครั้งก็รับเป็นศิษย์ได้ เพียงแต่ขอให้ได้มีการปฏิบัติตน ผ่านตามเงื่อนไขบางประการจะได้กล่าวในตอนท้ายบทความนี้
พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2460 ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมชื่อ สังเวียน สังข์สุวรรณ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของนายควง (บิดา) และนางสมบุญ (มารดา) สังข์สุวรรณ
เมื่ออายุ 6 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่ออายุ 15 ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ 19 ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ พออายุได้ 20 ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2480 ที่.วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีคำสั่งพระอุปัชฌาย์ ความว่า :
ขณะเข้าบวชหลวงพ่อปาน ท่านได้บอกท่านอุปัชฌาย์ว่า เจ้านี่หัวแข็งมาก ต้องเสกด้วยตะพดหนักหน่อย ท่านอุปัชฌาย์ท่านเป็นพระทรงธรรมเหมือนหลวงพ่อปาน หลวงพ่อเล็กก็เหมือนท่านอุปัชฌาย์ ท่านยิ้มแล้วพูดว่า “3 องค์นี้ไม่สึก อีกองค์ต้องสึกเพราะมีลูก เมื่อจะสึกไม่ต้องเสียดายนะลูก เกษียณแล้วบวชใหม่มีผลสมบูรณ์เหมือนกัน 2 องค์นี้พอครบ 10 พรรษา ต้องเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วห้ามออกมายุ่งกับชาวบ้านจนกว่าจะตาย จะพาพระและชาวบ้านที่อวดรู้ตกนรก จะไปตามทางของเธอ ท่านปานช่วยสอนวิธีเข้าป่าให้หนักหน่อย ท่านองค์นี้ (หมายถึงฉัน) จะเข้าป่าไปกับเขา แต่ห้ามอยู่ไปป่าเป็นวัตร
เพราะเธอมีบริวาร ต้องอยู่สอนบริวารจนตาย พอครบ 20 พรรษา จงออกจากสำนักเดิม เธอจะได้ดี จงไปตามทางของเธอ ฉันบวชพระมามากแล้วไม่อิ่มใจเท่าบวชพวกเธอ”
สอบได้นักธรรมตรี โท เอก ภายใน 3 ปี นับช่วง อายุ 21, 22 และ 23 ปี ตามลำดับ ต่อมาได้ศึกษาพระกรรมฐานจากครูอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ พ.ศ.2481 เข้ามาจำพรรษาวัดช่างเหล็ก อ.ตลิ่งชัน จ.ธนบุรี เพื่อเรียนภาษาบาลี สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ย้ายมาอยู่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ 4 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอีกหลายวัดจน…พ.ศ.2511
จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อม สร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมพื้นที่ 6 ไร่เศษ จนกระทั่งมีบริเวณพื้นที่ประมาณ 289 ไร่ พ.ศ.2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระสุธรรมยานเถร” พ.ศ.2532 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
มรณภาพ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2535 พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรงและติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2535 เวลา 16.10 น. ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ได้ทำหน้าที่ของสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ด้านชาติ สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน และจัดตั้งธนาคารข้าว ออกเยี่ยมทหารของชาติและตำรวจตระเวนชายแดนหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และแจกอาหาร ยา อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและวัตถุมงคลทั่วประเทศ ด้านพระมหากษัตริย์ ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) โดยจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ศูนย์ที่ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จนกระทั่งมรณภาพ
“เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
Facebook : https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG : https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
Reviews
There are no reviews yet.