จิ้งจกเนื้อไม้แกะ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จารมือยุคต้นศิลป์นิยม

฿12,000.00

จิ้งจกเนื้อไม้แกะ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จารมือยุคต้นศิลป์นิยม


เครื่องรางของหลวงพ่อหน่ายที่คนรู้จักมากที่สุด ก็น่าจะเป็นเครื่องรางรูปจิ้งจกนี่แหละครับ เนื่องจากมีประสบการณ์ด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภสูงมาก ปัจจุบันก็หายากแล้วครับ ของปลอมก็มีออกมาหลายฝีมือ เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังหน่อยหรือเช่าหากับผู้ที่ไว้ใจได้

ผู้ที่มีจิ้งจกของท่านไว้ ถ้าได้ยินเสียงจิ้งจกร้องทักโดยที่บริเวณนั้นไม่มีตัวจิ้งจกอยู่เลย ก็แสดงว่าผู้นั้นกำลังจะมีลาภใหญ่ นอกจากทางด้านเมตตามหานิยมโชคลาภแล้วก็ยังมีคงกระพันชาตรีอีกด้วย ลูกศิษย์บางคนเปิดร้านขายอาหารเขาพกจิ้งจกติดตัวอยู่ปรากฏว่าคนแน่นร้านเกือบทุกวัน

เครื่องรางรูปจิ้งจกของหลวงพ่อหน่าย มีสร้างด้วยกันหลายครั้ง และวัสดุที่นำมาสร้างก็มีหลายชนิด เช่น ไม้สักทอง ไม้คูณ ไม้ดำดง ไม้งิ้วดำ กัลปังหา กะลาตาเดียว และงา เป็นต้น รูปของจิ้งจกก็มีรูปแบบต่างๆ กัน เช่น รูปจิ้งจกตัวเดียว จิ้งจกสามตัว จิ้งจกสองตัว จิ้งจกสองหาง และแหวนแกะเป็นรูปจิ้งจกพันรอบแหวน เป็นต้น

หนึ่งในที่สุดของเครื่องรางที่เด่นมากๆเรื่องโชคลาภและเมตตามหานิยมที่ทุกคนต่างรู้จักกัน
เครื่องรางของขลังที่เกี่ยวกับเมตตามหานิยมโชคลาภกันบ้าง เครื่องรางชนิดหนึ่งที่ทำเป็นรูปจิ้งจก หลายๆ ท่านก็คงจะรู้แล้ว นั่นก็คือเครื่องรางของหลวงพ่อหน่ายวัดบ้านแจ้ง พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

โดยจะมีพุทธคุณโดดเด่น ทางด้านเมตตามหาเสน่ห์กับเพศตรงข้ามเป็นอย่างสูง แถมยังเด่นทางด้านโชคลาภ จนบางท่านเรียกว่า “จิ้งจกมหาลาภ” ซึ่งตามตำราโบราณท่านว่าไว้….เมื่อท่านใดได้บูชา “จิ้งจกมหาลาภ” แล้วต่อมาได้ยินเสียงจิ้งจกร้องโดย ณ.สถานที่บริเวณนั้นไม่มีจิ้งจกปรากฏอยู่เลย…นั่นแสดงว่าผู้บูชาท่านนั้น กำลังจะมีลาภใหญ่เข้ามาแล้วครับ และ นอกจากนี้ยังมีด้านคงกระพันชาตรีอีกด้วย มีทั้งจิ้งจกเดี่ยว จิ้งจกคู่ และจิ้งจกสามตัว เคยเห็นมากที่สุดคือ แบบสี่ตัวเกี้ยวพันหางกัน นี่หายากที่สุด

ส่วนในเรื่องของอานุภาพนั้น…ถือว่าแน่นอน แจ๋วมากในเรื่องการเรียกโชคลาภ การทำมาค้าขาย และเรื่องคู่ครองเมตตามหาเสน่ห์ก็ไม่แพ้กัน ตัวอย่างมี เจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่ง พกแค่ “จิ้งจกสองตัว” เขาบอกว่าคนแน่นร้านเกือบทุกวัน

—————–
  หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อหน่ายเกิดเมื่อปี พ.ศ.2446 ที่ ต.หันสัง อ.บางปะหัน พออายุได้ 12 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านแจ้ง และอุปสมบทที่วัดบ้านแจ้งเมื่ออายุได้ 22 ปี โดยมีพระครูพัดเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหน่ายสนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐาน

ท่านจึงได้ออกธุดงค์ไปในป่าหลายๆ จังหวัด ได้พบพระเกจิอาจารย์และอาจารย์ฆราวาสอยู่หลายท่าน จึงได้ศึกษาวิทยาคมในสายต่างๆ ฆราวาสท่านหนึ่งคือนายจัน ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ภายหลังหลวงพ่อหน่ายได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดบ้านแจ้งก็ได้ศึกษากับหลวงปู่เคลือบ เจ้าอาวาสวัดบ้านแจ้งในขณะนั้นอีก

หลวงพ่อหน่ายได้ช่วยหลวงปู่เคลือบพัฒนาวัดบ้านแจ้งในด้านต่างๆ เช่น สร้างพระอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2512 หลวงปู่เคลือบได้มรณภาพ ชาวบ้านจึงได้อาราธนาหลวงพ่อหน่ายขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อหน่ายได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแจ้งจนถึงปี พ.ศ.2531 อายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 64

หลวงพ่อหน่ายในช่วงที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านแจ้ง ก็ได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเรื่องผีเข้าเจ้าสิง แม้แต่มีชาวบ้านมาขอให้ท่านสักยันต์ให้หรือขอเครื่องรางของขลัง หลวงพ่อก็เมตตาทำให้ตลอดมา ทั้งศิษย์ที่สักยันต์หรือมีเครื่องรางของขลังของท่านล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย หลวงพ่อหน่ายได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง

เช่น พระโมคคัลลาน์ พระพุทธโคดม เหรียญรุ่นต่างๆ ตะกรุดโทน ปลัดขิก โดยเฉพาะเครื่องรางรูปจิ้งจกมีคนมาขอหลวงพ่อมาก เนื่องจากประสบการณ์ต่างๆ นั้นจะเด่นทางเมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย จนมักจะเรียกกันว่า “จิ้งจกมหาลาภ” นอกจากจะเรื่องเมตตามหานิยมแล้ว


เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”

พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย

. https://ponsrithong.com/

web (main) พระเครื่อง  : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง

Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/

Loading

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “จิ้งจกเนื้อไม้แกะ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จารมือยุคต้นศิลป์นิยม”

Your email address will not be published. Required fields are marked *