เหรียญนั่งโต๊ะ หลังพระพิฆเนศ ครูบาอุ่น วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

โทร : 063-969-5995

ID.LINE busoftware52
#พระทุกองค์รับประกันพระแท้ตลอดชีพ

เหรียญนั่งโต๊ะ หลังพระพิฆเนศ ครูบาอุ่น วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่


*** เหรียญนั่งโต๊ะ หลังพระพิฆเนศ***
รุ่น “สำเร็จหลังพระพิฆเนศ”
..จัดสร้างถวายโดย คุณนันต์ ท่าพระจันทร์
อธิษฐานจิตปลุกเสกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562
…ด้านหน้าเป็นรูปครูบาอุ่นนั่งโต๊ะ (มีแรงบันดาลใจจากเหรียญเจริญพรของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่) ด้านหลังเป็นพระพิฆเนศเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ
จำนวนการจัดสร้าง
1.เนื้อทองคำ
-ทองคำหลังเรียบ 1 เหรียญ
-ทองคำลงยาหลังพระพิฆเนศ 2 เหรียญ
2.เนื้อเงินหน้ากากทองคำ ลงยาแดง 9 เหรียญ
3.เนื้อเงินลงยา
-ลงยาแดง 9 เหรียญ
-ลงยาเขียว 9 เหรียญ
-ลงยาน้ำเงิน 9 เหรียญ
4.เนื้อเงินบริสุทธิ์ 14 เหรียญ
5.เนื้อนวะโลหะหน้ากากเงิน หลังเรียบ 19 เหรียญ
6.เนื้อนวะโลหะพระพิฆเนศหน้ากากเงิน หลังเรียบ 18 เหรียญ
7.เนื้อนวะโลหะหน้ากากทองทิพย์ 9 เหรียญ
8.เนื้อทองทิพย์หน้ากากทองแดง 9 เหรียญ
9.เนื้อทองแดงหน้ากากทองทิพย์ 9 เหรียญ
10.เนื้อนวะโลหะ 50 เหรียญ
11.เนื้ออัลปาก้า 100 เหรียญ
12.เนื้อทองทิพย์ 1000 เหรียญ
13.เนื้อทองแดง 2000 เหรียญ

 


 

ประวัติ
ประวัติครูบาอุ่น อตุถกาโม
วัดโรงวัว ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ครูบาอุ่น อตุถกาโม นามเดิม “อุ่น ไชยองค์การณ์” ถือกำเนิด ณ หมู่บ้านโรงวัว ต.แม่ก๊า
อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เมื่อ วันอาทิตย์ที่ – ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๑ (แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปี
มะโรง)
บิดาชื่อ นายบุญชุ่ม มารดาชื่อ นางกาบคำ ไซยองค์การณ์ มีพี่น้องร่วมท้องรวมทั้งหมด ๙
คน เป็นชาย ๖ คน หญิง ๓ คน ครูบาอุ่นเป็นบุตรคนที่ ๔ และปัจจุบันพี่น้องร่วมท้องได้เสียชีวิตลง
ทั้งหมดแล้ว ซึ่งพี่ชายทุกคนได้บวชเรียนสืบเนื่องต่อกันมา ครั้งเมื่อเด็กชายอุ่นอายุได้ ๘ ปี พี่ชายที่
บวชเรียนอยู่ก่อนแล้วได้พาเข้ามาศึกษาร่ำเรียนภายในวัดทั้งภาษาไทย และภาษาล้านนาเป็นเวลา
๘ ปี
เมื่อเด็กชายอุ่นอายุครบ ๑๒ ปีจึงบวชเป็นสามเณรโดย ครูบาตำ เรณุวณโณ ( เจ้าอาวาส
วัดโรงวัวในขณะนั้น ) สามเณรอุ่นได้เข้าเรียนพระปริยัติธรรม และพระธรรมวินัยจากสำนักวัดโรง
วัว จนจบนักธรรมชั้นเอก นอกจากนั้นแล้วยังศึกษาหาความรู้การในปฏิบัติธรรม กัมมัฏฐาน รักษา
ศีล เจริญภาวนาสมาธิ แต่สามเณรอุ่นได้มีความสนใจในพระคาถา พระยันต์ต่างๆเป็นพิเศษ จึง
ศึกษาจากตำราโบราณอันเก่าแก่ของวัดโรงวัวที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า ๓๕0 ปี

ประวัติวัดโรงวัว

วัดโรงวัว เดิมชื่อ “วัดผางวัว” ซึ่งเป็นวัดร้างมาก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๒๑๐ ในสมัยก่อนนั้น
ได้มีพ่อค้าวัวจากต่างถิ่นทั้งใกล้ และไกลเดินทางนำเอาวัว ควายไปขาย จะทำการหยุดพักแรม ณ
สถานที่แห่งนี้ บรรดาพ่อค้าเหล่านั้นจึงช่วยกันสร้างปะรำ (ผาง) เป็นที่พักอาศัยกัน จนกระทั่งได้มี
ผู้คนเดินทางอพยพทยอยเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐาน สร้างบ้านเรือนพักอาศัยเกิดขึ้นเป็นหมู่บ้าน แกน
นำหมู่บ้านคือพ่อใจ ได้ทำการชักชวนชาวบ้านที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาช่วยกันแผ้วถางสร้างวัด
ขึ้น และตั้งชื่อว่า “วัดผางวัว” ต่อมาจึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดโรงวัว”สืบเนื่องมาจนถึง
ปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสปกครองสืบต่อกันมาดังนี้
๑. พระคำ

๒. พระอุทัย

๓. พระครอง

๔.พระใจ

๘.พระอธิการปวน อินทจกฺโก
๕-๖.ไม่ทราบข้อมูล

๙.ครูบาตำ เรณุวณุโณ
๗.ครูบาโปธา สุริโย

๑๐.ครูบาอุ่น อตุถกาโม


 

ซึ่งหลังจากการปกครองของเจ้าอาวาสรูปที่ ๕-๖ ได้สิ้นสุดเกิดการเว้นว่างลง วัดโรงวัวในขณะนั้น
ขาดการดูแล จึงทำให้เสนาสนะทรุดโทรมลงไปอย่างมากชาวบ้านจึงไปนิมนต์ท่านครูบาโปธา สุริโย
อายุ ๙๐ ปี (ศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย) มาจากวัดดอยจอมแจ้ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มา
รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๗ ซึ่งท่านก็ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆภายในวัดให้
กลับมาสวยงาม แข็งแรงและเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ครูบาโปธาท่านได้เป็นที่กล่าวขานในด้านของ
คาถาอาคมต่างๆ และได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์มากมายทั้งยังเป็นตำราตกทอดมายังปัจจุบันอีกด้วย
ต่อมาครูบาโปธาได้ขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโรงวัว เพื่อไปสร้างวัดดอยชิว อ.สันกำแพง
จ.เชียงใหม่ ท่านจึงถึงแก่การมรณภาพ ณ วัดดอยชิว วัดโรงวัวจึงถูกดูแลต่อโดยศิษย์ของท่านคือ
ท่านพระอธิการป่วน อินทจกุโก เรื่อยมาจนถึง ครูบาตำ เรณุวณุโณ และครูบาอุ่น อตถกาโม
ปัจจุบันวัดโรงวัวตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๙๗ หมู่ที่ ๒ ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สังกัด
มหานิกาย มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๗๖ ตารางวา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒
สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๙

บรรพชา
เมื่อสามเณรอุ่นอายุได้ ๒๗ ปีจึงได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุอย่างสมบูรณ์ ตรงกับวัน
จันทร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ (ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย) เวลา ๗ นาฬิกา ๑๕ นาที
โดยมี ครูบาตำ เรณุวณุโณ วัดโรงวัว เป็นพระอุปัชฌาย์
ครูบามูล วิสุทโธ วัดแม่ก้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระครูดี ตันติกโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ณ อุโบสถ วัดโรงวัว ได้รับฉายาว่า “อตถกาโม” หลังจากอุปสมบทแล้วได้จำพรรษา ณ วัดโรงวัว
คอยปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ ช่วยอบรมสั่งสอนหนังสือและดูแลนักเรียนทั้งหลาย ( ซึ่งวัดโรงวัว
ขณะนั้นยังเป็นสถานที่สอนหนังสือแก่สามเณร เด็กวัดในละแวกนั้น มาอาศัยอยู่ที่วัดกว่า ๖๐ ชีวิต)
รับตำแหน่งเจ้าอาวาส
หลังจากจำพรรษา ณ วัดโรงวัวได้ไม่นานก็ได้รับคำสั่งจากครูบาตำ เรณุวณุโณ ให้ไป
รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสันกอเก็ต ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เนื่องจากทางโยมมารดา
ของครูบาตำได้บริจาคที่ดินให้แก่วัดสันกอเก็ด แต่ติดที่ครูบาตำท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
วัดโรงวัว และเจ้าคณะตำบลแม่ก๊าอยู่จึงไม่สามารถย้ายไปวัดสันกอเก็ด เพราะวาระการดำรง
ตำแหน่งยังไม่สิ้นสุด

และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ วาระการดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่ก๊าได้สิ้นสุดลง ครูบาตำ
เรณุวณุโณ จึงลาออกจากกาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโรงวัวด้วย และได้กลับไปจำพรรษายังวัด
สันกอเก็ด เพราะถือเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง
ครูบาอุ่นจึงได้ย้ายกลับมาจำพรรษา และรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโรงวัวแทน ครูบาจึงได้
รับภาระทั้งหมดของวัดทั้งคอยดูแลบูรณะเสนาสนะ สอนหนังสือ ภาษาไทย ภาษาพื้นเมืองล้านนา
ให้แก่สามเณร เด็กวัด ในปีเดียวกันนี้เองท่านได้ทำการบูรณะโบสถ์หลังเก่าให้สมบูรณ์แข็งแรง
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ ครูบาตำ เรณุวณโณ อดีตเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ได้ถึงแก่
มรณภาพลงอายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา ณ วัดสันกอเก็ด ด้วยความกตัญญูแก่ครูบาอาจารย์ ครูบาอุ่น
จึงรับเป็นเจ้าภาพทั้งหมด และดูแลจนงานเสร็จสิ้น

ตำแหน่งสมณศักดิ์
หลังจากย้ายกลับมาจำพรรษา ณ วัดโรงวัวได้หนึ่งปี วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙
ทางคณะสงฆ์จึงสถาปนาประทวนสมณศักดิ์เป็น “พระครูอุ่น อตถกาโม” เจ้าอาวาสวัดโรงวัว
ถัดมาอีกสี่ปี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้า
อาวาสวัดราษฎร์ชั้นโทที่ “พระครูอรรถกิจจาทร” ซึ่งช่วงนี้ท่านได้เริ่มทำการสร้าง และบูรณะวัด
ครั้งใหญ่ เช่น สร้างศาลาบำเพ็ญบุญ กำแพงแก้ววัด ห้องสุขา และบูรณะกุฏิหลังเก่า เพื่อให้คณะ
ศรัทธาญาติโยมที่เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัดได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าอาวาส
วัดราษฎร์ชั้นเอกที่ราชทินนามเดิมคือ “พระครูอรรถกิจจาทร” ยังความปลาบปลื้มมาแก่คณะศิษ
ยานุศิษย์เป็นอย่างมาก
แม้ครูบาอุ่นท่านจะมีหน้าที่ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ก็ตาม ก็มิได้ละการปฏิบัติทางธรรมแต่
อย่างใด ยังคงนั่งสมาธิเจริญภาวนา อบรมสั่งสอนศรัทธาชาวบ้านอยู่เช่นเดิม
ด้านงานสาธารณะประโยชน์
ครูบาอุ่น อตถกาโม ท่านมิได้สร้างแต่วัดโรงวัว เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ตลอดช่วงชีวิตของ
ท่านตั้งแต่บรรพชามาได้บริจาคทุนการศึกษาให้แก่เต็กต้อยโอกาส บริจาคตามสถานที่ต่างๆขาด
แคลน เครื่องอุปโภคบริโภค ร่วมบริจาคเงินสบทบทุนบูรณะสร้างวัดวาอารามทั้งใน และนอก
จังหวัดอีกมากมายหลายสถานที่

เป็นเจ้าภาพวางศิลาฤกษ์เจดีย์ ณ วัดสันกอเก็ด วัดเก่าที่ท่านเคยรักษาการเจ้าอาวาส นำ
ผ้าป่าไปทอดถวาย ณ วัดกอช่อย เมืองยอง ประเทศพม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕- จนถึงปัจจุบัน
ชื่อเสียงของท่านเริ่มโด่งดังไปสู่ภายนอก ด้วยความเมตตาไม่ถือเนื้อไม่ถือตัวของท่าน จึงทำให้มี
คณะศรัทธา ลูกศิษย์เดินทางมาหามากขึ้นอย่างไม่ขาตสาย และยังได้รับกิจนิมนต์อีกมากมาย
หลายแห่งไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ จะใกล้หรือไกลแค่นั้น ท่านก็รับนิมนต์หมด ด้วยความที่
ท่านศึกษาเรื่องคาถาอาคม อักขระยันต์มาตั้งแต่เป็นสามเณร จึงทำให้ได้รับนิมนต์ไปอธิษฐานจิต
วัตถุมงคลอย่างบ่อยครั้ง
แม้ครูบาอุ่นจะอายุย่างเข้า ๙๑ ปีในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ นี้แต่ท่านยังคงแข็งแรงเดินเหิน
คล่องแคล่ว ยิ้มแย้มแจ่มใส ต้อนรับศรัทธาทุกท่านด้วยเสียงดังฟังชัด และความเมตตาเช่นเดิม

วัตถุมงคล
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าครูบาอุ่นไต้สนใจ ศึกษาคาถาอาคม อักขระเลขยันต์ต่างๆตั้งแต่ยังเป็น
สามเณร ในยุคต้นๆนั้นท่านจะจารตะกรุดยันต์พันช่อง มีขนาดต่างๆกันไปพันเชือกสีแจกให้แก่
ศรัทธาที่มากราบ และในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้มีคณะศิษย์มาขอจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านเพื่อ
ร่วมสมทบทุนบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโรงวัว
แต่วัตถุมงคลที่ได้สร้างชื่อเสียงของท่านให้โด่งดังเป็นที่รู้จักมากขึ้นกว่าเดิม นั้นคือขุนแผน
รุ่นแรก หลังปั๊มวัวธนู ซึ่งมีศิษย์สร้างถวายในปี พ.ศ.๒๕๔๙ แจกให้แก่คณะศรัทธาที่มาทอดผ้าป่า
มีผู้นำไปใช้แล้วเห็นผลทางด้าน เมตตามหานิยม โชคลาภค้าขายดีขึ้นมากมาย
วัตถุมงคลของครูบาอุ่นยังมีอีกมายมากหลายรุ่น สร้างตามแต่วาระและโอกาสต่างๆ ทั้งครู
บาท่านสร้างเอง ลูกศิษย์วัดจัดสร้าง และศิษย์สร้างถวาย แล้วแต่ผู้ศรัทธาทุกท่านจะเลือกใช้เพราะ
วัตถุมงคลที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากท่าน ล้วนแล้วแต่ดีทุกอย่าง สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกคอยเตือนใจ
ให้ทำแต่ความดี ละเว้นกรรมชั่ว วัตถุมงคลถึงจะเห็นผลดั่งใจต้องการ
ขอบคุณข้อมูลจาก
พระจาตุรงค์ คุณสมปนฺโน
(พระเลขาครูบาอุ่น)

เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”

พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย

. https://ponsrithong.com/

web (main) พระเครื่อง  : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง

Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/

Loading

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “เหรียญนั่งโต๊ะ หลังพระพิฆเนศ ครูบาอุ่น วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่”

Your email address will not be published. Required fields are marked *